ข้อมูลพื้นฐาน
พื้นที่หมู่ที่ 3 บ้านคลองระแหง ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ประกอบด้วย 2 ชุมชนคือ ชุมชนบัวแก้วพัฒนาและชุมชนบ้านคลองระแหง โดยตำบลระแหง เป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอลาดหลุมแก้ว ประกอบไปด้วย 12 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่1 บ้านบ่อน้ำเชี่ยว , หมู่2 บ้านคลองลาดหลุมแก้ว , หมู่3 บ้านคลองระแหง , หมู่4 บ้านตลาดระแหง , หมู่5 บ้านคลองโยธา , หมู่6 ชุมชนคนหมู่ 6 , หมู่ที่ 7 เทศบาลระแหง หมู่8 บ้านคลองถ้ำพระยาเลียง , หมู่9 บ้านคลองวัดบัวสุวรรณประดิษฐ์ , หมู่ที่ 10 บ้านคลองถ้ำตะบัน หมู่ที่ 11 อบต.คลองระแหง หมู่12 บ้านคลองตับผักชี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป้นคนไทยเชื้อสาย ไทย-มอญ ชาวชุมชนระแหง มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบสังคมเมือง มีการใช้ชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง มีศาสนาที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านในชุมชน โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีส่วนน้อยที่นับถือศาสนาอื่นๆ ได้แก่ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ เป็นต้น ศาสนสถานที่สำคัญชุมชนหมู่ 3 คือ วัดบัวแก้วเกษร
ข้อมูลพื้นฐาน
- ข้อมูลในปีที่ผ่านมาหมู่ที่ 3 บ้านระแหงพัฒนา ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี มีจำนวนประชากรชายจำนวน 1,098 คน หญิงจำนวน 1,110 คน รวมทั้งหมด 2,208 คน จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 932ครัวเรือน อยู่ในเขตการปกครองของเทศบาลตำบลระแหง ซึ่งแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่ โดยในพื้นที่ของหมู่ที่ 3 จะประกอบด้วย 2 ชุมชน คือ บัวแก้วพัฒนาและบ้านคลองระแหง
- ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
- อาชีพส่วนใหญ่ทำเกษตรกร (ปลูกข้าว) รองลงมาคือ รับจ้าง ทำงานในโรงงานอุตสหกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจะอยู่เลี้ยงหลาน หรือทำนาในที่ดินของตนเองหรือเช่า
- ด้านวัฒนธรรม ประเพณีส่วนใหญ่จะเป็นการทำบุญตามประเพณี ทั่วไป เช่น เวียนเทียนวันมาฆบูชา วิสาขบูชา งานทำบุญเข้าพรรษาและออกพรรษา ประเพณีลอยกระทง งานสงกรานต์ ฯ
- ที่ดินทำเกษตรส่วนใหญ่เป็นของตนเองที่สืบทอดกันมาจากรุ่นปู่ย่าตายาย มีบางส่วนเช่าที่ดินทำเกษตร
- การส่งเสริมอาชีพหรือการสร้างกลุ่มอาชีพเคยมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือและส่งเสริมแต่สุดท้ายไปต่อไม่ได้ เนื่องจากชาวบ้านมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ส่วนใหญ่จะมีสำรองระว่างการรอทำนารอบต่อไป คือ การรับจ้างตามความถนัดของตนเองข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
1.มีปราชญ์ชุมชนส่วนใหญ่จะเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านหรือบุคลลที่ชาวบ้านให้ความนับถือและได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรจากพื้นที่อื่นๆ แล้วนำความรู้ที่ได้มาถ่ายทอดให้แก่คนในพื้นที่ ภูมิปัญญาพื้นบ้านส่วนใหญ๋จะเกี่ยวข้องกันการปลูกข้าว เป็นวิธีการที่ให้สามารถปลูกข้าวได้หลายรอบต่อปี
2.ส่วนใหญ่คนพื้นที่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มากนานจึงมีความสนิทสนมและรู้จักกันเป็นอย่างดี
3.พื้นที่หมู่ 3 มีวัดบัวแก้วเกษรซึ่งเป็นวัดขนาดใหญ่ที่ประชากรในพื้นที่และระแวกใกล้เคียงนิยมมาทำบุญและปฎิบัติกิจกรรมทางศาสนาร่วมกัน
4.มีตลาดระแหง ตลาดโบราณร้อยปี อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ป็นตลาดริมคลองระแหง
จุดแข็ง (Strengths)
1) ประชากรมีความรู้ ความเข้าใจและความชำนาญในการปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพเกษตรกรรมหลักของชาวบ้านส่วนใหญ่
2) พื้นที่ของชุมชนมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำประปาและไฟฟ้าเข้าถึงทุกครัวเรือน การเดินทางภายในและภายนอกชุมชน เป็นไปด้วยความสะดวกรรวดเร็ว
3) ประชากรส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายเป็นผู้มีความรู้ในระดับดี สามารถอ่านและเขียนหนังสือได้ ดังนั้นชาวบ้านจึงมีศักยภาพและความพร้อมต่อการพัฒนา หากได้รับการส่งเสริมอาชีพหรือถ่ายทอดความรู้ต่างๆ
4) ผู้นำชุมชนมีความเป็นผู้นำสูง มีศักยภาพในการบริหารงานซึ่งจะทำงานตามขั้นตอนตามแผนงานที่วางไว้อีกทั้งชาวบ้านยังให้ความรักและความไว้ใจในตัวผู้นำสูง
5) ชุมชนมีความสามัคคี ชาวบ้านให้ความร่วมมือต่อการทำกิจกรรมในทุกครั้ง ให้ความร่วมมือเต็มที่ทุ่มเทร่างกาย และจิตใจ เพื่อจะให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพข้อมูลประเด็นปัญหา
ขาดการออกกำลังกายและการส่งเสริมสุขภาพข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ส่งเสริมให้ชาวบ้านหันมาออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน หรือกิจกรรมเพื่อสุขภาพ เช่นการนวด เป็นต้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการเชิงป้องกันเพื่อลดความ
เสี่ยงจากปัญหาด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมจากบุคลากรของสถาบันระดับอุดมศึกษา
ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น และสถานพยาบาลในท้องทีนวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม (University Engagement) จากปรัชญาการสร้างปัญญาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทางานของสถาบันการศึกษาร่วมกับภาคีในพื้นที่ (Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคมเฉพาะที่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยามากขึ้น พันธกิจนี้จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงของทุกภาคส่วนทั้งในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและระดับมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงความสาคัญในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นตามหลักพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โดยให้ความสาคัญกับการแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการเข้ากับแนวปฏิบัติที่ดีที่เป็นศักยภาพของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้
นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 09:49 น.