นํ้าพริกเผารวมใจ หมู่ที่ 8 บ้านคูขวางไทย ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

นํ้าพริกเผารวมใจ หมู่ที่ 8 บ้านคูขวางไทย ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม นํ้าพริกเผารวมใจ หมู่ที่ 8 บ้านคูขวางไทย ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม คณะสาธารณสุขศาสตร์
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านคูขวางไทย ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์ ดร.ทัศพร ชูศักดิ์
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูบางหลวง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านคูขวางไทย เป็นหมู่บ้านที่ตั้งมานานซึ่งไม่มีหลักฐานให้ทราบว่าตั้งหมู่บ้านมาตั้งแต่เมื่อไร ผู้สูงอายุใน
หมู่บ้านคูขวางไทยได้เล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมทีคลองคูขวางไทยนั้นได้มีชาวบ้านย้ายมาตั้งรกราก ชาวบ้านส่วนใหญ่
เดินทางมาจากแม่น้ าแถบตะวันออก คือแถบวัดเทียนถวายและแถบโคกชพูและต่างช่วยกันถางป่าเพื่อจับจองที่ดิน
เพื่อท ามาหากิน ซึ่งพื้นที่ของหมู่บ้านนั้นมีคลองตัดขวางถนนที่เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคม ในสมัยนั้นมี
ชาวบ้านอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้เพียง 40 หลังคาเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยทำนาเป็นหลัก ต่อมาได้
มีผู้คนย้ายเข้ามาอาศัยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความหมายของคำว่า “คูขวางไทย” จากการเล่าขานของผู้สูงอายุกล่าวว่า
“คู” หมายถึง ร่องนํ้าขนาดเล็กเพื่อนำนํ้ามาทำการเกษตรในพื้นที่ ส่วนคำว่า “ขวาง” หมายความว่า การขุดคลอง
ขวางจากคลองบางหลวงและคลองบางเตยเพื่อส่งนํ้าเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งคลองคูขวางนั้นเป็นคลองต่อนํ้ามาจากคลอง
บางหลวงและคลองบางเตย คลองทั้งสองนี้รับนํ้ามาจากแม่นํ้าเจ้าพระยาซึ่งเป็นแม่นํ้าสายหลักของจังหวัดปทุมธานี
และในพื้นที่นี้มีคนไทยอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจำนวนมากจึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านคูขวางไทย”
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ประชาชนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกข้าวเป็นอาชีพหลักและมีการปลูกกล้วย
นํ้าว้า กล้วยหอม เป็นอาชีพเสริม จะเห็นได้จากเกษตรกรจะปลูกกล้วยบริเวณริมถนนและบริเวณคันนา
ข้อมูลประเด็นปัญหา
1. ข้อจำกัดเรื่องการบริหารจัดการนํ้าในการ
เพาะปลูก
2. การจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาชุมชนมีไม่
เพียงพอ
3.ขาดความรู้เรื่องแปรรูปผลิตภัณฑ์ในชุมชน
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ความต้องการเชิงพัฒนาของประชากร หมู่ 8 คือ 1) พัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถทำให้ชุมชนน่าอยู่
เช่น การปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมในบ้าน ในหมู่บ้าน และในพื้นที่สาธารณะ 2) พัฒนาด้านการส่งเสริมอาชีพ เช่น
ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปของผลผลิตที่มีในชุมชน 3) พัฒนาคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุ เช่น โครงการลดความเสี่ยงต่อการ
หกล้มในผู้สูงอายุ เป็นต้น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การสร้างตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ และการถนอมอาหาร

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่สภามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีนโยบายในการพัฒนาท้องถิ่นใน
เชิงประจักษ์ พ.ศ 2562-2564 ตรงกับยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอดเผยแพร่
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ และเป้าหระสงค์ที่ 3 ประชาชนสามารถดำรงชีวิตโดยใช้หลักเศรษฐกิจชุมชน
เข้มแข็ง ประชาชนมีความสุขและมีรายได้เพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้
ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยดำเนินโครงการพันธกิจ
สัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและสระแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่
มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการจึงได้จัดทำโครงการที่สร้างเครือข่ายชุมชนนัก
ปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษา สำรวจข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น และยกระดับ
คุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จำนวน 52 หมู่บ้าน แบ่งเป็นจังหวัดปทุมธานี 27 หมู่บ้าน และจังหวัดสระแก้ว 25
หมู่บ้าน ซึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้มอบหมายให้รับผิดชอบ 4 หมู่บ้าน แบ่งเป็นจังหวัดปทุมธานี 2 หมู่บ้าน
และจังหวัดสระแก้ว 2 หมู่บ้าน คณะกรรมการด ำเนินงานได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินโครงการในพื้นที่หมู่
ที่ 8 บ้านคูขวางไทย ซึ่งอยู่ในเขตตำบลคูบางหลวง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างเครือข่าย
นักพัฒนาและแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น สำรวจข้อมูล จัดทำฐานข้อมูลหมู่บ้าน และแก้ไขปัญหาของชุมชน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • จ.ปทุมธานี
  • ต.คูบางหลวง
  • นํ้าพริกเผารวมใจ
  • บ้านคูขวางไทย
  • หมู่ที่ 8
  • อ.ลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 15:08 น.