นํ้าพริกเผาไข่เค็ม หมู่ที่ 6 ตําบลคูบางหลวง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

นํ้าพริกเผาไข่เค็ม หมู่ที่ 6 ตําบลคูบางหลวง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม นํ้าพริกเผาไข่เค็ม หมู่ที่ 6 ตําบลคูบางหลวง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 6 ตําบลคูบางหลวง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิณากร ที่รัก
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูบางหลวง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
- ประชากร มีจำนวน 1,036 คน
- มีจำนวน 563 ครัวเรือน
-ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ศักยภาพของชุมชน ประกอบด้วย
1. กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไข่เค็ม
ดินสอพอง กลุ่มเลี้ยงปลา
2. โรงสีชุมชน
3. กองทุนหมู่บ้าน
4. ปราชญ์ด้านการเกษตร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาชุมชน
-การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า ได้แก่ ไข่
เค็มดินสอพอง นํ้ายาล้างจาน
-การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
จากการสนทนากลุ่มเพื่อวิเคราะห์ความต้องการ
กับผู้นำชุมชนและประชาชนในชุมชนเพื่อ
กำหนดประเด็นการพัฒนา คือ
- การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้า ได้แก่
ไข่เค็มดินสอพอง และนํ้ายาล้างจาน เป็นต้น

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การสร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และการถนอมอาหาร

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร(ชาติ
20 ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร(เกษตรและสหกรณ( 20 ปี ระหว่างปี 2560 ถึง ปี 2579 โดยน้อม
นําเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคํานึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้
หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดชบรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการ
ดําเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิต
ภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนําไปสู่
ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ
บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการ ในพระราชดําริของพระ
ราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้
เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7ที่ระบุ
ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ
บัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพมาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง
และยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ใน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดําริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษา
แก้ไขปัญหาของชุมชนทองถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดํารงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสําคัญใน
การพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น มีกลไกสนับสนุนการปฏิบัติพันธกิจแบบบูรณาการเพื่อท้องถิ่นตอบสนองต่อ
นโยบายของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งเน้นการบูรณาบริการวิชาการ การเรียนการสอน และการวิจัย โดยมี
กระบวนการ/วิธีการ มีนโยบายสนับสนุน มีองค์ความรู้ มีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการพัฒนาชุมชน และ
สังคม ซึ่งเป็นศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการที่จะก้าวไปสู0มหาวิทยาลัยเพื่อรับใช้สังคม ทําหน้าที่ส่งเสริมและ
สนับสนุนด้านวิชาการให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยการออกแบบการทํางานเพื่อสร้าง
กลไกเชิงระบบที่เชื่อมงานประกันคุณภาพองค์กรกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อให้มีการสานพลังจากทุกคณะร่วมกับ
องค์กรภาคี มีการยกระดับคุณภาพงานวิชาการเพื่อรับใช้สังคม และเกิดการพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพ
งานวิชาการเพื่อสังคม
สํานักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงได้กําหนดแนวทางการทํางานที่มุ่งเน้นการทํางาน
บริการวิชาการรับใช้สังคม โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทํางานประสานงาน และดําเนินโครงการตามนโยบายของ
มหาวิทยาลัยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดำานงานบริการวิชาการโดยในปี 2561 นี้ มหาวิทยาลัยได้ดําเนินงานด้าน
พันธกิจสัมพันธ(เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานีและจังหวัด
สระแก้ว โดยความร่วมมือกันของทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย ซึ่งดําเนินการในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี จํานวน
27 หมู่บ้าน พื้นที่จังหวัดสระแก้ว 25 หมู่บ้าน ของสํานักส่งเสริมการเรียนรู้ฯ รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดปทุมธานี
จํานวน 6 หมู่บ้าน การดําเนินงานในระยะแรกเป็นการสํารวจข้อมูลชุมชน เพื่อให้ได้มาซึ่งสภาพปัญหาที่แท้จริง
ของชุมชนและสิ่งที่ชุมชนต้องการรับการพัฒนา เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนําไปสู่การ
แก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน สํานักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ จึงจัดทําโครงการสร้าง
เครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถ
ดํารงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมี
ความเหมาะสม สามารถดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญา
ท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นําไปสู่การพึ่งพา
ตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • ไข่เค็ม
  • จังหวัดปทุมธานี
  • ตําบลคูบางหลวง
  • นํ้าพริกเผา
  • หมู่ที่ 6
  • อําเภอลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 13:38 น.