นํ้าพริกปลาป่น บ้านคลองบางโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

นํ้าพริกปลาป่น บ้านคลองบางโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม นํ้าพริกปลาป่น บ้านคลองบางโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน บ้านคลองบางโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วิษชญะ ศิลาน้อย
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูขวาง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
- ชุมชนที่มีชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม
อาศัยอยู่ร่วมกัน โดยส่วนใหญ่นับถือศาสนา
อิสลาม
- ในชุมชนมีการใช้ภาษาไทยและภาษามาลายู
- มีศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
และเกษตรทฤษฎีใหม่
- ในอดีตประชากรประกอบอาชีพเกษตรกรรม
- ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกรรม ประมง
ปศุสัตว์ และค้าขาย
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ประเด็นกลุ่มอาชีพในชุมชน
- กลุ่มเลี้ยงปลาในชุมชนมีทั้งหมด 52 บ่อ เช่น
ปลาดุก ปลานิล ปลาหมอ เป็นต้น
- กลุ่มแปรรูปปลา น าปลาที่เลี้ยงมาแปรรูปเป็น
ปลาเค็ม ปลาเส้น และปลาดุกฟู
โดยทั้ง 2 กลุ่มจะมีพ่อค้าคนกลางมารับปลา
ไปจ าหน่าย ที่ตลาดไท และตลาดบางเลน
- กลุ่มขนมไทย ได้แก่ ขนมตาล ข้าวต้มมัด และ
ขนมใส่ไส้

ศักยภาพของชุมชน ประกอบด้วย
1. มีแกนนำในการบริหารจัดการกลุ่มที่เข้มแข็ง
โดยจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็น
หลัก ทำหน้าที่เป็นผู้รับรายการสั่งซื้อสินค้า
และกระจายหน้าที่งานให้ตรงกับศักยภาพ
ความเชี่ยวชาญของสมาชิก
2. สินค้า OTOP ในชุมชน ได้แก่ ปลาแดดเดียว
และปลาดุกฟู
3. มีแนวทางการดำเนินชีวิตโดยใช้หลักคำสอน
ของศาสนาอิสลาม
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน
- ชาวบ้านเติบโตมาจากการทำไร่ ทำนา ไม่
ถนัดเรื่องการค้าขาย ทำการตลาดไม่เป็น
- ข้าวไม่ได้รับการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น
- ขาดความรู้ด้านการถนอมอาหาร
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- ความรู้พื้นฐานในการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สอนวิชาชีพตัดผม เพราะเด็กในชุมชนมี
จำนวนมาก
- สูตรอาหารสัตว์ โดยเฉพาะ อาหารปลา
- วิธีการถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น
(มะนาวดอง,กล้วยฉาบ,ปลาเค็ม)
- วิธีทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม (ปลา,มะนาว)
- แปรรูปปลาดุกร้า
- ต้องการทำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ (มะนาวบ๊วย
แบบแห้ง,นํ้าพริก/พริกแกง)

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้การสร้างตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และการถนอมอาหาร

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ตามพระราชบัญญัติ
มหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547 มาตรา 7 ที่ระบุให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเสริมพลังปัญญาของแผ่นดิน ซึ่งสอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฎสู่คุณภาพเป็นเลิศโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพบัณฑิตสู่นักปฏิบัติอย่างมืออาชีพ การยกคุณภาพ
มาตรฐานชีวิตของชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ให้มีความเข็มแข็งและยั่งยืน พร้อมทั้งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ใประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3การพัฒนางานพันธกิจสัมพันธ์ และถ่ายทอด เผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีกลยุทธ์ในการสร้างเครือข่าย
ชุมชนนักปฏิบัติจากภายในและภายนอกเพื่อร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นและเสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญในการพัฒนาชุมชน และท้องถิ่น
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลาดุกคลองบางโพธิ์ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีสมาชิกภายในกลุ่มจำนวน 20 คนการก่อตั้งกลุ่มนี้เกิดจาก บริบทของชุมชนแห่งนี้เป็นพื้นที่ที่ประชาชนมีการเลี้ยงปลาเป็นจำนวนมาก กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการจำหน่ายปลาสดเป็นกิจกรรมหลัก ต่อมาภายในกลุ่มได่มีความคิดริเริ่ม แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ คือ น้ำพริกปลาป่น แต่ยังขาดการพัฒนาในด้านของการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในช่วงแรก ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
รวมทั้งปัญหาที่สำคัญคือ เกิดการหลุดร่วงของผลิตภัณฑ์ในระหว่างขนส่ง และอายุการเก็บรักษา ซึ่งมีพลังงานอย่างน้อย 3 อย่างที่ทำให้ผลิตภัณฑ์เกิดความเน่าเสีย ได้แก่ แสง ความร้อน และจุลินทรีย์
การออกแบบตราสินค้าถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในด้านการทำการตลาดให้กับสินค้า เพราะฉะนั้นเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ชุมชนจึงมีความเห็นพ้องร่วมกันที่จะต้องการจัดให้มีการออกแบบ เพื่อผลิตตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์น้ำพริกปลาป่นจึงได้บอกถึงความต้องการเบื้องต้น เพื่อให้ทางผู้รับผิดชอบ
โครงการเข้าไปช่วยเหลือเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สามารถกำหนดราคาขายได้สูงขึ้น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กว้างขวาง เกิดการจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์มากและยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • จังหวัดปทุมธานี
  • ตำบลคูขวาง
  • นํ้าพริกปลาป่น
  • บ้านคลองบางโพธิ์
  • หมู่ที่ 5
  • อำเภอลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 13:06 น.