เห็ดพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

เห็ดพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม เห็ดพอเพียง หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม งานวิชาศึกษาทั่วไป
ชื่อชุมชน หมู่ที่ 3 บ้านคลองบางหลวง ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์วรภร อิ่มเย็น
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 029093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูขวาง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
บ้านคลองบางหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลคูขวาง ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของ
เทศบาลตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว แต่เดิมบ้านคลองบางหลวง ชื่อว่า บ้านคลองบางหลวงไหว้พระ
มีประเพณีตักบาตรพระร้อย ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดปทุมธานีในปัจจุบัน สำหรับบ้านคลองบาง
หลวงในอดีต ได้มีประเพณีตักบาตรพระร้อยเช่นกัน แต่ปัจจุบันค่อยๆ หายไป ชื่อของชุมชนบ้านคลอง
บางหลวงไหว้พระ ก็เหมือนเพียงบ้านคลองบางหลวง
ชุมชนบ้านคลองบางหลวงหมู่ที่ 3 อาชีพหลักคือเกษตรกร ทำนา และทำสวนมะพร้าว มะม่วง
บ้างเล็กน้อย
ข้อมูลด้านประชากร
จ ำนวนครัวเรือน 18 ครัวเรือน จำนวนประชากร 78 คน เพศ ชาย 31 คน
เพศหญิง 41 คน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
สภาพทางภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่มมีลำคลองบางหลวงไหว้พระ
เป็นลำคลองสายหลัก มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ข้อมูลประเด็นปัญหา
เริ่มต้นจากการสำรวจครัวเรือนเป้าหมายที่มีรายได้ตำกว่าเกณฑ์ จปฐ.ปี2560 บริบทของชุมชนสัมภาษณ์ครัวเรือนเป็าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการพบว่า ต้องการอาชีพเสริมเพิ่มรายได้
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
ชุมชนให้ความสนใจในการทำก้อนเชื้อเห็ด และการเพาะเห็ดนางฟ้า จึงได้ปรึกษาหารือครัวเรือนในพื้นที่หมู่ที่ 3 เพื่อส่งเสริมการทำก้อนเชื้อเห็ด และการเพาะเห็ดนางฟ้าให้กับกลุ่มเป้าหมาย

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ และองค์ความรู้และกระบวนการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าและการประกอบอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าแบบมีส่วนร่วม

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ด้วยแนวคิดพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม จากปรัชญาการสร้างปัญญาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ถูกถ่ายทอดเป็นวิสัยทัศน์ไปสู่การทำงานของสถาบันการศึกษา ร่วมกับภาคีในพื้นที่(Engagement) ที่มุ่งหมายหวังผลที่จะตอบปัญหาของชุมชนหรือสังคม เฉพาะที่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น พันธกิจนี้จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออย่างแท้จริงของทุกภาคส่วน ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยด้วยกันเอง และระดับมหาวิทยาลัยกับหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นตามหลักพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม โดยให้ความสำคัญกับการ
แก้ปัญหาของชุมชน ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบซึ่งมหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุน และส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางวิชาการ เข้ากับแนวปฏิบัติที่ดี ที่เป็นศักยภาพของชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชนได้
ดังนั้น การสำรวจความต้องการและศึกษาบริบทของ ชุมชนคลองบางหลวง หมู่ที่ 3 ตำบลคูขวางอำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของโครงการสร้างเครือข่ายชุมชน นักปฏิบัติเพื่อร่วมกับศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนที่งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการตามแผนงานพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนจังหวัดปทุมธานี

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การทำก้อนเชื้อเห็ด
  • การเพาะเห็ดนางฟ้า
  • คลองบางหลวง
  • จังหวัดปทุมธานี
  • ตำบลคูขวาง
  • อำเภอลาดหลุมแก้ว

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2562 11:25 น.