การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ข้อมูลโครงการ
ชื่อนวัตกรรม | การปลูกพืชสวนครัว และพืชผักสมุนไพรในกระถาง บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี |
สถาบันอุดมศึกษาหลัก | มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
หน่วยงานหลัก | สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ |
หน่วยงานร่วม | งานวิชาศึกษาทั่วไป |
ชื่อชุมชน | บ้านคลองบางหลวง หมุ่ที่1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี |
ชื่อผู้รับผิดชอบ | อาจารย์ ดร.นลินอร นุ้ยปลอด |
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ | เลขที่ 1 หมู่ 20 ถนนพหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 13180 |
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา | - |
การติดต่อ | 029093026 |
ปี พ.ศ. | 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 |
งบประมาณ | 0.00 บาท |
พื้นที่ดำเนินงาน
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
ปทุมธานี | ลาดหลุมแก้ว | คูขวาง | place directions |
รายละเอียดชุมชน
ข้อมูลพื้นฐาน
จากการสัมภาษณ์กลุ่มชาวบานในชุมชนพบว่า ชุมชนแห่งนี้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2486 มีพื้นที่ติดกับแม่น้ําเจาพระยาและคลองบางหลวง นอกจากนี้ พบว่าประชากรส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเป็นกลุ่มคนเชื้อ
สายมอญร้อยละ 70 และเป็นคนไทยร้อยละ 30 จึงทําใหเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างวัฒนธรรม
มอญและวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมนี้เองเป็นสิ่งที่ทําใหคนในชุมชนได้รู้จักและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ก่อใหเกิดความมีนํ้าใจเอื้ออาทรต่อกัน โดยเฉพาะความมีนํ้าใจภายในชุมชนที่จะยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
การแนะนําในสิ่งที่เป็นประโยชน์โดยไม่หวงแหน การแนะนําหลักการดําเนินชีวิต โดยอาศัยหลักธรรมและ
ประสบการณ์ การเสียสละความสุขส่วนตัวและเสียสละผลประโยชน์ของตน เพื่อประโยชน์สุขต่อส่วนร่วมด้วย
ความบริสุทธิ์ใจ การเสียสละประโยชน์เล็กนอยเพื่อประโยชน์ที่มากกว่า การบริหารจัดการของชาวบานใน
ชุมชนมีลักษณะเชิงรุก กล่าวคือ ชาวบ้านได้ลุกขึ้นมาช่วยกันแก้ไขปัญหาแบบร่วมกันคิด ร่วมกันทํา ร่วมกัน
รับผิดชอบ ทําใหชุมชนเกิดการพัฒนาและเรียนรู้ร่วมกันของคนภายในชุมชน นอกจากนี้ ชุมชนแห่งนี้ยังมีการ
สืบสานภูมิปัญญาทองถิ่นโดยการรวมกลุ่ม เพื่อถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมทองถิ่นไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน รวมทั้งเพิ่ม
โอกาสทางเศรษฐกิจและสร้างรายไดให้แก่คนในชุมชน เช่น กลุ่มโอ่งผาไหม กลุ่มแม่บ้านทํานํ้าพริก และชุมชน
แห่งนี้มีประเพณีที่สําคัญ คือ ประเพณีสงกรานต์ หรือที่ชาวมอญเรียกว่า (ปัจอะห์ต๊ะห์) เป็นเทศกาลสําคัญ
ประจําปีของชาวมอญ จะมีการทําบุญเฉลิมฉลองกันอย่างมโหฬาร เทศกาลนี้ใชระยะเวลาหลายวัน โดยจะเริ่ม
ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ไปจนถึงตนเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี ซึ่งชาวบานจะรวมตัวกันเพื่อทําบุญที่
วัดบ่อทอง ซึ่งวัดบ่อทองแห่งนี้ เป็นวัดที่เก่าแก่และเป็นวัดประจําหมู่บาน อีกทั้งวัดบ่อทองแห่งนี้ยังเป็น
สถานศึกษาแห่งแรกของหมู่บ้าน โดยในอดีตมีเพียงอาคารเดียวที่สร้างขึ้นมาด้วยไม้ เพื่อใช้สําหรับเป็นอาคาร
เรียนและจัดการเรียนการสอนใหกับเด็กภายในชุมชน แต่ในสภาพสังคมปัจจุบัน กระแสโลกาภิวัตน์และโลกที่
ก้าวไกล ทําใหเกิดการพัฒนาได้เข้ามาอย่างเต็มที่ จึงทําใหชุมชนหมู่ที่ 1 ตําบลคูขวาง อําเภอลาดหลุมแก้ว
จังหวัดปทุมธานี มีความเจริญมากขึ้น มีโรงงานอุตสาหกรรม มีสถานพยาบาล มีถนนตัดผ่านเขตชุมชน เป็นตน
จึงทําให้ตําบลแห่งนี้เป็นอีกตําบลหนึ่งที่เกิดการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบัน ตําบลคูขวาง ตั้งอยู่เลขที่
50 หมู2ที่ 3 ซอยคูขวาง 8 มีเนื้อที่ประมาณ 16.541 ตารางกิโลเมตร (หรือประมาณ 10,337. ไร่ ) ห่างจาก
จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 12 กิโลเมตร และห่างจากอําเภอลาดหลุมแก้ว ประมาณ 5.5 กิโลเมตร และห่าง
จากถนนปทุมธานี - บางเลน ประมาณ 2.1 กิโลเมตร
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
-ชุมชนแห่งนี้มีการทําเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมาปรับใชในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง
- มีการคมนาคมที่สะดวกมากขึ้น
- ชุมชนแห่งนี้กลุ่มที่เป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่การท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนนั่น
ก็คือกลุ่มปั่นจักรยานนั่นเอง
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ในวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2561 งานวิชาศึกษาทั่วไป ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลชุมชนคลองบางหลวง หมู่ที่ 1 ต.คูขวาง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี โดยใช้วิธีแบ่งกลุ่มชาวบ้าน เพื่อสัมภาษณ์ในประเด็นต่าง ๆ จึงได้พบทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน คือ พื้นที่โดยรวมของหมู่บ้านเป็นโรงงานอุตสาหกรรม แม้จะมีบริเวณในการทำการเกษตรตามแนว “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของในหลวง ร.9 แต่อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักหรือทำกินเป็นของตนเอง จึงต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารในครัวเรือน งานวิชาศึกษาทั่วไป เกิดแนวคิดการส่งเสริมการปลูกพืชผักสวนครัวและพืชผักสมุนไพรในกระถาง เพื่อลดรายจ่ายในเรื่องดังกล่าวข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
งานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ ดำเนินการในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 1 ตำบลคูขวาง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี หรือ เรียกว่า “บ้านคลองบางหลวง”ปัจจุบัน บ้านครองบางหลวง หมู่ที่ 1 อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ไม่เพียงแต่เป็นชุมชนถิ่นเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นชุมชนที่ประชาชนเริ่มให้ความสนใจมาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากบ้านคลองหลวงมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เป็น “ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี” ภายในส่วนนี้ มีพื้นที่ทั้งหมด 12 ไร่ ได้รับการสนับสนุนให้จัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมออกเป็น กลุ่มกิจกรรมทางการเกษตร ได้จัดแบ่งไว้อย่างเป็นระเบียบ ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก เป็นต้น ส่วนกลุ่มกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ การเลี้ยงปลา ไก่พื้นบ้าน หมู และควาย ในรูปแบบเกษตรผสมผสาน และยังอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวมอญที่เป็นชุมชนดั้งเดิมไว้
ประเด็นปัญหาหลัก
ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน
ประเภทนวัตกรรม
นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม
รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่
คำสำคัญเพื่อการค้นหา
ภาพถ่าย
วีดิโอ
ไฟล์เอกสาร
โครงการขยายผล
project version release 2022-02-13. ช่วยเหลือ