กล้วยกวน ชุมชนหมู่ที่ 12 คลองเจ้า ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

กล้วยกวน ชุมชนหมู่ที่ 12 คลองเจ้า ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม กล้วยกวน ชุมชนหมู่ที่ 12 คลองเจ้า ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
หน่วยงานหลัก สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ
หน่วยงานร่วม -
ชื่อชุมชน หมู่ 12 คลองเจ้า ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ชื่อผู้รับผิดชอบ อาจารย์รวิธร ฐานัสสกุล
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา -
การติดต่อ 02-9093026
ปี พ.ศ. 2562
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 0.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ปทุมธานี ลาดหลุมแก้ว คูบางหลวง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน
- ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่
ประชาชนมีจำนวน 700 กว่าคน
จำนวน 118 ครัวเรือน
- ชาวบ้านในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ทำนา ปลูกพืชสวนครัว ทำสวน รับจ้าง ทำงาน
โรงงาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ศักยภาพของชุมชน ประกอบด้วย
ด้านการปกครอง
ผู้นำ: (กำนันอุดม จันทร์แจ่ม)
- ผู้นำมีศาสตร์และศิลป์ในการบริหาร
จัดการชุมชน
- มีกฎ กติกาของชุมชน
ด้านสังคม
คนในชุมชนมีนํ้าใจและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
มีความเป็นกันเอง มีความรัก ความสามัคคี
มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาชุมชน
หน่วยงานที่สนับสนุนชุมชน
ได้แก่ เกษตรอำเภอลาดหลุมแก้ว พัฒนาชุมชน
จังหวัดปทุมธานี
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชน
- หลังจาก สภาวะนํ้าท่วม ปี 2554 สภาพดินมี
ปัญหาเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อการ
ทำเกษตรกรรม เพาะปลูกพืช
- ผลผลิตทางการเกษตร ขาดตลาดรองรับ ไม่มี
แหล่งขาย ขาดความรู้ในด้านการแปรรูป
- ราคาข้าวตกตํ่า ราคาข้าวถูกกดราคา มีต้นทุน
การผลิตสูง
- ปัญหาจากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีที่ทำหัว
เชื้อปูน ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และ
กระทบถึงแหล่งนํ้าใช้ของคนในหมู่บ้าน
- ชุมชนเป็นที่พักของแรงงานต่างด้าวที่ทำงาน
โรงงานบริเวณละแวกชุมชน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา
ต่างๆ เช่น การลักขโมย เสียงดัง ขยะ เป็นต้น
- ชาวบ้านต้องการรวมกลุ่ม ฝึกอาชีพผู้สูงอายุ
งานฝีมือ งานจักสาน แปรรูป
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่
- ชาวบ้านต้องการรวมกลุ่ม ฝึกอาชีพผู้สูงอายุ
งานฝีมือ งานจักสาน แปรรูป

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

Action Learning คือ การรวมกลุ่มของคนที่มีระดับของทักษะและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาแผนการดำเนินงาน โดยการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ
และองค์ความรู้เรื่องการแปรรูปกล้วย

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ตามที่ภาครัฐได้เชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติเข้ากับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ของประเทศไทย และยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ๒๐ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๐ ถึง ปี ๒๕๗๙ โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นการพัฒนาแบบยั่งยืน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่ และใช้หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และยกระดับรายได้ของประชาชน แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร พัฒนาโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหาร เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ของประชาชนและประเทศชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ ก็ทรงมีพระปณิธานแน่วแน่ที่จะสานต่อโครงการในพระราชดำริของพระราชบิดา เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นมหาวิทยาลัยที่พระราชาประสงค์ให้เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นดังนั้น มหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงได้จัดทำโครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชน สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการชีวิตตนเองได้อย่างสมดุลและมีความเหมาะสม สามารถดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น เพิ่มคุณค่าและมูลค่า เสริมเศรษฐกิจฐานรากในชุมชนให้มีความ เข้มแข็ง มั่นคง นำไปสู่การพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ส่งผลให้ชุมชนหมู่บ้านมีคุณภาพชีวิตและรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยมี มหาวิทยาลัยราชภัฎเป็นแหล่งให้ความรู้และเป็นที่พึ่งพิงทางวิชาการ มีบุคลากร นักวิชาการที่มีศักยภาพในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนที่พร้อมจะขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • กล้วยกวน
  • คลองเจ้า
  • บางคูหลวง
  • ปทุมธานี

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ
  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย learnoffice learnoffice เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 14:05 น.