การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารริมทางในจังหวัดลำปาง เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารริมทางในจังหวัดลำปาง เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การสื่อสารอัตลักษณ์อาหารริมทางในจังหวัดลำปาง เพื่อสร้างจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเนชั่น
หน่วยงานหลัก คณะนิเทศศาสตร์
หน่วยงานร่วม จังหวัดลำปาง, การท่องเที่ยวลำปาง
ชื่อชุมชน
ชื่อผู้รับผิดชอบ ดร.ธีร์ คันโททอง
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยเนชั่น 444 ถนนวชิรวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง 52000
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา
การติดต่อ 0863452008
ปี พ.ศ. 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2563 - 31 ธันวาคม 2563
งบประมาณ 100,000.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ลำปาง place directions
ลำปาง place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

จากแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนการปฏิรูปประเทศ สัญญาประชาคมซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่อยากเห็นประเทศไทย “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จากนโยบายรัฐบาล หลักการประชารัฐ และสำหรับจังหวัดลำปางเองก็ได้มีแนวทางและจุดเน้นในการพัฒนาจังหวัด ปี2562 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี นั่นเอง โดยจังหวัดลําปางก็ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในปี 2562 นี้ไว้ว่า “ลําปางเมืองน่าอยู่ นครแห่งความสุข” ซึ่งในแผนพัฒนาของจังหวัดลำปางในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ โดยมีการกำหนดแนวคิดไว้ว่า “ลําปางปลายทางฝัน” โดยจังหวัดลำปางนั้นได้มีความต้องการที่จะให้ก้าวข้ามเมืองผ่าน สู่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจังหวัดลำปางจากเมืองที่นักท่องเที่ยวแค่เดินทางผ่านไปแต่จะต้องทำให้กลายมาเป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวต้องแวะและเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่จะต้องตั้งใจเดินทางมาท่องเที่ยวต่อไป (lampang.go.th, 2562)
ในช่วงตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมานั้นจังหวัดลำปาง ได้จัดทำการโครงการลำปางแบรนด์ "นครแห่งวัฒนธรรมล้านนา เปิดประตูการค้าสู่อาเซียน” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตราสัญลักษณ์ให้กับจังหวัดลำปาง ให้มีความโดดเด่น และมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ของจังหวัดลำปาง เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ และภูมิภาคอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยเปลี่ยนแนวคิดจากเมืองที่เป็นสถานที่ตั้ง ให้กลายเป็น เมืองจุดหมายปลายทางที่จะต้องไป เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถจดจำแบรนด์ของเมือง ซึ่งก็คือ ภาพรวมของทั้งเมืองในภาพเดียว แต่สะท้อนการเป็นตัวแทนในทุกๆ มิติที่เกิดขึ้น และดำเนินต่อไปภายในเมือง จากการระดมความคิดเห็นจากการจัดประชุมประชาคมชาวจังหวัดลำปางเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันที่จะกำหนดตราสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปาง หรือลำปางแบรนด์ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภาพประกอบ : โลโก้ลำปางแบรนด์ ที่มา: https://www.m-culture.go.th/lampang/ewt_news.php?nid=66.

รถม้า – อัตลักษณ์ของลำปาง "เมืองรถม้า” มีตำนานยาวนานมากว่า 100 ปี
ไก่ – เป็นสัญลักษณ์ของลำปางมาตั้งแต่สมัยเมืองกุกกฏนครและมีชามตราไก่อันลือชื่อ
วัดพระธาตุลำปางหลวง – วัดคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปางสร้างขึ้นโดยจำลองคติไตรภูมิจักรวาลที่มีองค์พระธาตุเป็นตัวแทนของเขาพระสุเมรุซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์มาก (m-culture.go.th, 2557) ซึ่งทั้ง 3 อย่างนี้ได้ปรากฎในโลโก้เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปางให้นักท่องเที่ยวสามารถจดจำอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปางได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ทั้งนี้จังหวัดลำปางเองก็ยังมีวัฒนธรรมในด้านอาหารการกินที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะจังหวัดลำปางเท่านั้น ซึ่งสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางก็ได้มีการประชาสัมพันธ์อาหารท้องถิ่นซึ่งเป็นของจังหวัดลำปางแท้ๆ นั้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้หารับประทานกัน ซึ่งจะเป็นรายการอาหารแนะนำของทุกอำเภอในจังหวัดลำปางเท่านั้น ได้แก่ แกงฮังเลของอำเภอเมือง, ลาบหมูของอำเภอแม่เมาะ, แกงแคไก่เมืองของอำเภอเกาะคา, ลากไก่ใส่หยวกกล้วยของอำเภอสบปราบ, หลามปลาภูเขาของอำเภอเสริมงาม, ยำใบเมี่ยงของอำเภอเมืองปาน, แกงแคกบของอำเภอวังเหนือ, หน่อไม้จ่อมของอำเภอเถิน, ตำขนุนใส่หนังหมูของอำเภองาว, น้ำพริกถั่วเน่าของอำเภอแม่พริก, แกงบอนของอำเภอห้างฉัตร, น้ำพริกปูของอำเภอแจ้ห่ม, และหลามบอนของอำเภอแม่ทะ (m-culture.go.th, 2562) แต่จากรายการอาหารที่กล่าวมานั้นก็ยังเป็นรายการอาหารที่ไม่ใช่อาหารริมทางที่สอดคล้องกับคำกำกัดความขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ได้ระบุไว้ว่า อาหารริมทาง (Street food) นั้นต้องหมายถึง อาหารและเครื่องดื่มที่พร้อมต่อการบริโภคได้ทันที ขายเพื่อการบริโภคในพื้นที่สาธารณะซึ่งสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายจากท้องถนน มีต้นทุนในการประกอบอาหารที่ต่ำ (Delisle, 1990) และยังเป็นในลักษณะรถเข็นอาหารที่ไม่ใช่ร้านอาหารแม้จะมีความใกล้เคียงกับร้านอาหารก็ตามแต่มีวิธีการให้บริการและมีเงื่อนไขการค้าที่แตกต่างกันออกไป (Newman & Burnett, 2013) นั่นเอง
ดังนั้นแล้วจากความหมายอาหารริมทางและเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับรายการอาหารที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปางได้มีการประชาสัมพันธ์นั้น จึงยังไม่เข้าข่ายอาหารริมทางของจังหวัดลำปาง ซึ่งในจังหวัดลำปางเองก็ยังมีอาหารริมทางที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดลำปางที่น่าสนใจอีกจำนวนมากที่ควรจะมีการส่งเสริมให้เป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวและสร้างเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวเชิงอาหารและยังเป็นการสอดคล้องกับแผนงานแนวทางและจุดเน้นในการพัฒนาจังหวัดลำปางในปี2562 นี้ ตามแนวคิด “ลําปางปลายทางฝัน” ก้าวข้ามเมืองผ่าน สู่จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ผู้วิจัยหวังว่าในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้จะสามารถเติมเต็มนโยบายของทางจังหวัดลำปางในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างให้จังหวัดลำปางที่จะไม่เป็นเพียงเมืองผ่านไปเท่านั้นแต่จะเป็นเมืองที่ได้กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวผ่านอาหารริมทางของจังหวัดลำปางและยังเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนต่อไปอีกด้วย

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

  • การสื่อสาร
  • จุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว
  • อัตลักษณ์อาหารริมทาง

ภาพถ่าย

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย thee_ntu_551040 thee_ntu_551040 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 11:05 น.