การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ

ข้อมูลโครงการ

ชื่อนวัตกรรม การพัฒนาเมืองผู้สูงอายุ
สถาบันอุดมศึกษาหลัก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
หน่วยงานหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หน่วยงานร่วม เทศบาลตำบลเมืองพาน
ชื่อชุมชน เทศบาลตำบลเมืองพาน
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางชมพร สีเงิน
ที่อยู่ผู้รับผิดชอบ 733 หมู่ 1 ตำบลเมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย
ชื่อผู้ร่วมโครงการ/สาขา นางชิสา โชติวัฒนวิบูลย์
การติดต่อ 0817652453
ปี พ.ศ. 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 107,500.00 บาท

พื้นที่ดำเนินงาน

จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
เชียงราย พาน place directions

รายละเอียดชุมชน

ข้อมูลพื้นฐาน
เทศบาลตำบลเมืองพาน อ.พาน จ.เชียงราย เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบเต็มรูปแบบ โดยที่มีจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวน 11,774 คน เป็นประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 3,392 คน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน = 28.08 % ต่อประชากรทั้งหมด และจำนวนของกลุ่มที่จะขึ้นเป็นผู้สูงอายุอีก 10-20 ปีข้างหน้ายังมีอีกจำนวน 2,000 กว่าคน
ข้อมูลศักยภาพ/ทรัพยากร
ข้อมูลประเด็นปัญหา
สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลความต้องการเชิงพื้นที่

ประเด็นปัญหาหลัก

ประเด็นที่เกี่ยวข้อง

องค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงงาน

ยุทธศาสตร์ 5H ประกอบด้วย
H1: Healthy Policy, H2 : Healthy Home, H3: Healthy Activity,
H4 : Healthy Transportation, H5: Healthy Environment

ประเภทนวัตกรรม

นวัตกรรมชุมชน , นวัตกรรมเกษตร , นวัตกรรมแก้จน , นวัตกรรมสังคม

รายละเอียดนวัตกรรม/หลักการและเหตุผล

ประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับประชากรผู้สูงอายุในสังคมโลก มุมองเรื่องผู้สูงอายุควรเปลี่ยนจาก ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่อยู่ในวัยเสื่อมถอยทางสรีรวิทยา ซึ่งต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพิงและต้องการผู้ดูแลเป็นพิเศษ ไปสู่การเป็นผู้สูงอายุสุขภาพดี(Healthy aging) ซึ่งยังมีความสามารถในการดูแลตนเองได้ ต้องการมีชีวิตอิสระไม่ตกอยู่ในภาวะพึ่งพิง และยังมีศักยภาพในการช่วยเหลือสังคมในลักษณะจิตอาสา
ผู้สูงอายุซึ่งยังมีสุขภาพดี ย่อมมีความต้องการบริการสาธารณะและสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างจากประชากรกลุ่มวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว การเอื้ออำนวยให้ผู้สูงอายุ ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิต นอกจากจะเป็นบทบาทของผู้สูงอายุเอง ครอบครัวและญาติพี่น้องของผู้สูงอายุ ยังต้องการการสนับสนุนจากระบบบริการสาธารณะเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การคมนาคม และการจัดกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งล้วนเป็นบทบาทภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองท้องถิ่น
โครงการเมืองผู้สูงอายุ จึงเป็นโครงการที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาท้องถิ่นต้นแบบตามกรอบแนวคิด 5H ซึ่งมีกระบวนการและกิจกรรมที่เอื้ออำนวยและตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระและมีความสุข

คำสำคัญเพื่อการค้นหา

ภาพถ่าย

  • photo คำอธิบายภาพ

วีดิโอ

ไฟล์เอกสาร

โครงการขยายผล

นำเข้าสู่ระบบโดย chomporn chomporn เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 10:40 น.