สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง ุ61-ข-050
ชื่อโครงการ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่
ชุดโครงการ ระบบสนับสนุนกระบวนการ HIA
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประวิช ขุนนิคม
คณะทำงาน ? 1. ผศ.ดร.สมทิพย์ ด่านธีรวนิชย์ 2. ดร.พิเชตวุฒิ นิลลออ 3. ดร.สายสุนีย์ จำรัส 4. ดร. โปรดปราน คำอ่อน 5. ภญ.ศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์6. ดร.คชาพล นิ่มเดช 7. นายประวิช ขุนนิคม8. ดร. ปวิตร ชัยวิสิทธิ์ 9. ดร. ดุริยางค์ วาสนา
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 มีนาคม 2562
งบประมาณโครงการ 55,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 30
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย
  • คณะทำงาน 15 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ ภาคราชการ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • คณะกรรมการตำบลจัดการสุขภาพ 5 คน
  • ตัวแทนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 คน
  • เครือข่าย/ชมรม 5 คน
  • คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3 คน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
จังหวัด กระบี่
ละติจูด-ลองจิจูด place

หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรไทย จากข้อมูลรายงานสถิติสำนักสถิติแห่งชาติ พบว่า แนวโน้มการบริโภคยาสูบใน 10 ปีที่ผ่านมา (ช่วงปี 2550 -2560) ร้อยละและจำนวนบริโภคยาสูบของคนไทยมีแนวโน้มที่คงที่ แต่ในประชากรวัยรุ่นช่วงอายุระหว่าง 15-18 ปี มีแนวโน้มการสูบบุหรี่ที่สูงขึ้น (ร้อยละ 9.70) ซึ่งหากจำแนกตามภาค พบว่า ภาคใต้สูงเป็นอันดับหนึ่ง (สถานการณ์บุหรี่.pdf, n.d.) รองลงมาภาคอีสาน ภาคเหนือ เหนือ และภาคกลาง (ตามลำดับ) โดยประชากรจังหวัดกระบี่สูบบุหรี่สูงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ (ร้อยละ 25) ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์การการสูบบุหรี่ของจังหวัดกระบี่ จากการสำรวจเกณฑ์ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) จังหวัดกระบี่ ปี 2560 ของสำนักงานพัฒนาชุมชน (จากการจัดเก็บข้อมลประชากรทั้งหมด 287,906 ราย) พบว่า ประชาชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่มีอัตราการสูบบุหรี่สูงร้อยละ 10.97 และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 3.35 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสถานการณ์การสูบบุหรี่ของประชากรจังหวัดกระบี่ยังคงน่าเป็นห่วงและเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องมีการแก้ไขโดยเร่งด่วน
    การดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การสูบบุหรี่เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะต้องขับเคลื่อนดำเนินการ ซึ่งได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกการควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความตระหนักเรื่องพิษภัยและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การช่วยให้เลิกสูบเลิกดื่มสุรา และยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ปลอดบุหรี่ ลดแรงสนับสนุนการดื่ม ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมและการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จากปัญหาสถานการณ์ดังกล่าวของจังหวัดกระบี่จำเป็นต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยนำร่องพื้นที่ของตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ด้วยกระบวนการชุมชนที่เข้มแข็งของพื้นที่ ขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ไปสู่ในระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศ ผ่านระบบกลไกที่สร้างขึ้นตามบริบทของพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มปัจจัยเสริมของผู้สูบบุหรี่/ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่ เสริมสร้างสุขภาวะ ด้านกาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ให้มีความสมดุล ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล/ครอบครัว สิ่งแวดล้อม/เศรษฐกิจ/สังคม และระบบบริการสุขภาพ/ระบบกลไก เพื่อสร้างสุขภาพดีให้เกิดขึ้นในชุมชนพื้นที่ตำบลคลองท่อมเหนือ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ และสร้างบุคคลต้นแบบไปยังพื้นที่อื่นๆ ด้วย     แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ มิติ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้นำกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาเป็นแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับปัจจัยกำหนดสุขภาพอันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงสุขภาพทั้ง 4 มิติ (กาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ) โดยนำผลการประเมินที่ได้ไปสู่การปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาโครงการให้สมบูรณ์ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สู่การนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่หรือ แผน ยุทธศาตร์ นโยบายต่อไปในอนาคต

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กรอบแนวคิดในการดำเนินการ คือ กรอบกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งอ้างอิงจากหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดจากนโยบายสาธารณะฉบับที่ 2 พ.ศ.2559 ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และใช้กรอบแนวคิดเรื่องปัจจัยกำหนดสุขภาพของ WHO เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการในขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการประเมินผลกระทบ ซึ่งการดำเนินการตามกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพนำมาประยุกค์ใช้สำหรับการประเมินเพียง 4 ขั้นตอน คือ การกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขตการประเมิน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ และการทบทวนร่างรายงานโดยสาธารณะ โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนและในแต่ละขั้นตอนทำให้ได้ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ต่างกัน

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

เพื่อกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ

แผนงาน โครงการที่ส่งผลกระทบในแต่ละกลุ่มประชากรต่อ โครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

เพื่อกำหนดขอบเขต พื้นที่ในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการ ให้มีความสมดุลระหว่างหลักฐานทางวิชาการของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กับความกังวลของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ตัวชี้วัดในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

เพื่อตรวจสอบ แก้ไข ปรับปรุง ทบทวนร่างรายงาน ด้วยกระบวนการการประเมินผลกระทบโดยสาธารณะ (Public Review)

รายงานผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากโครงการเสริมสร้างศักยภาพตำบลสุขภาวะ “คลองท่อม Model” แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกร้อนปลอดบุหรี่ 100% อบต.คลองท่อมเหนือ อ.คลองท่อม จ.กระบี่

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 การกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 10,000.00 0 2 5,000.00 2 6,296.00 more_vert
28 พ.ค. 61 ประชุมวางแผนงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโครงการพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในโครงการวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) 20 - -
19-20 ธ.ค. 61 ประชุมวางแผนการกลั่นกรองโดยสาธารณะ (public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (public scoping) 5 - -
2 การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) 35,000.00 0 1 10,000.00 1 40,040.00 more_vert
22-23 ก.ค. 62 เวทีการกลั่นกรองโดยสาธารณะ (public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ กรณีศึกษาโครงการปัจจัยเสี่ยงโซนภาคใต้ตอนบน 30 - -
3 ประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing) 10,000.00 0 1 10,000.00 1 3,705.00 more_vert
25 ส.ค. 62 ประชุมสรุปผลการจัดเวทีการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ 10 - -
4 ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) 0.00 0 - - - - more_vert
รวม 55,000.00 0 4 25,000.00 4 50,041.00

คำเตือน : งบประมาณของกิจกรรมหลัก (55,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมย่อย (25,000.00 บาท)

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
25 สิงหาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยAitsaraAitsaraเมื่อ 18 กันยายน 2562 16:25:41
Project owner
แก้ไขโดย Syuwari เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2562 11:47:37 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมสรุปผลการจัดเวทีการกลั่นกรองและการกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะ

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนตัวชี้วัดและสร้างเครื่องมือในการสำรวจผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโครงการ

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทีมประเมินและคณะทำงาน

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

1.ทีมวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำร่างรายงานการประเมินผลกระทบซึ่ง ซึ่งครอบคลุม 1.1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 1.2 ปัจจัยความสำเร็จ อุปสรรค และโอกาสการพัฒนาโครงการ

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 7 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

คณะทำงานและนักวิชาการ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประชุมปรึกษาหารือ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 ตัวชี้วัดหลักของโครงการ และปัจจัยกำหนดสุขภาพ 2 ปัจจัยความสำเร็จ และอุปสรรค และร่างรายงาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
22 กรกฎาคม 2562 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยAitsaraAitsaraเมื่อ 17 กันยายน 2562 11:11:45
Project owner
แก้ไขโดย Aitsara เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562 13:12:56 น.

ชื่อกิจกรรม : เวทีการกลั่นกรองโดยสาธารณะ (public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ กรณีศึกษาโครงการปัจจัยเสี่ยงโซนภาคใต้ตอนบน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) อำเภอคลองท่อมเหนือ จังหวัดกระบี่

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุขจังหวัด ชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ ตัวแทนรพสต. เครือข่ายในพื้นที่

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัยพิจารณาและทบทวนรายละเอียดกิจกรรมสำคัญของโครงการถึงประเด็น ความครอบคลุมของการดำเนินโครงการ ตัวชี้วัด ข้อจำกัด การดำเนินโครงการ
  2. ทีมวิจัยวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง/ส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (Stakeholder analysis)
  3. ทีมวิจัย mapping กิจกรรมหลักของโครงการและปัจจัยกำหนดสุขภาพ (Social Determinant of Health; SDH) ที่ส่งผลกระทบถึงสุขภาวะทั้ง 4 มิติ
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 30 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

ผู้นำชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สาธารณสุขจังหวัด ชาวบ้านในพื้นที่ นักวิชาการ ตัวแทนรพสต. เครือข่ายในพื้นที่

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ในการหาแนวทางการดำเนินงาน ขอบเขต ตัวชี้วัดและวางแผนโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อเสนอแนะและตัวชี้วัดเพิ่มเติมจากพื้นที่ 

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
19 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยAitsaraAitsaraเมื่อ 17 กันยายน 2562 11:02:46
Project owner
แก้ไขโดย Aitsara เมื่อ 29 ตุลาคม 2562 10:59:33 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมวางแผนการกลั่นกรองโดยสาธารณะ (public screening) และการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (public scoping)

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากกิจกรรมของโครงการ

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

ทีมนักวิชาการ อาจารย์และนักวิจัย

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมวิจัย วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปผล ผลการทบทวนเอกสาร/โครงการ
  2. ทีมวิจัยคาดการผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการทบทวนเอกสาร/โครงการ
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 6 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

นักวิชาการ อาจารย์

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประชุมวิเคราะห์ผลกระทบจากโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทราบข้อมูลสถาพปัญหา และเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เกิดการกำกนดตัวชี้วัดการดำเนินการและวางแผนการดำเนินการในอาคต

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ข้อมูลที่ได้บางประเด็นยังไม่ครบถ้วน สมบูรณ์

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-
28 พฤษภาคม 2561 เวลา 09:00 น.
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยAitsaraAitsaraเมื่อ 17 กันยายน 2562 10:37:27
Project owner
แก้ไขโดย Aitsara เมื่อ 29 ตุลาคม 2562 10:58:05 น.

ชื่อกิจกรรม : ประชุมวางแผนงานประเมินผลกระทบด้านสุขภาพโครงการพื้นที่ภาคใต้ตอนบนในโครงการวิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.)

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนเอกสาร/โครงการ และวิเคราะห์คาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเบื้องต้น

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

คณะทำงาน นักวิชาการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำ ตัวแทน รพสต.

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

  1. ทีมประเมิน ทำการทบทวนเอกสาร/โครงการ ได้แก่ -โครงการและแผนการดำเนินงาน (Full proposal) -โครงการอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายกับโครงการดังกล่าว
  2. ทีมวิจัยคาดการผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเบื้องต้น
กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 10 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

นักวิชาการ ตัวแทนท้องถิ่น โรงพยาบาล และหน่วยงานภาครัฐ

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  1. นำข้อมูล รายละเอียดของแผนงาน/โครงการ มาศึกษา ทบทวนแผนการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อวิเคราะห์ว่ามีผลกระทบใดบ้างที่เกิดขึ้นจากโครงการเดิม หากมีผลกระทบเชิงลบต้องดำเนินการแก้ไขอย่างไร และหากมีผลกระทบเชิงบวกจะดำเนินการอย่างไรให้ดียิ่งขึ้น
  2. focus group แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  3. นำเสนอผลการวิเคราะห์
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดการทบทวนแผนการดำเนินการของโครงการ
  2. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันเกี่ยวกับบริบทของโครงการ
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ศักยภาพของแกนนำ/พี่เลี้ยง
  • ความเข้มแข็งของหน่วยงานในการดำเนินงาน
ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

-

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

-

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

-

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
-