สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

รายละเอียดโครงการ
เลขที่ข้อตกลง
ชื่อโครงการ พืชร่วมยาง ชุมพร
ชุดโครงการ พืชร่วมยาง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายทวีวัตร เครือสาย/นส.หนึ่งฤทัย พันกุ่ม/พัลลภา ระสุโส๊ะ
คณะทำงาน ?
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2564
งบประมาณโครงการ 200,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย (คน) 0
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย

 

พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัด ชุมพร
ละติจูด-ลองจิจูด place
กิจกรรมหลัก
  1. ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการขยายผลโมเดล ร่วมกันคัดเลือกเกษตรนำร่อง (แบบ 5 :ปลูกแทนแบบผสมผสาน หรือเกษตรกรรมยั่งยืน) 10 ราย
  2. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. โดยนำองค์ความรู้/รูปแบบ พืชร่วมยาง-สวนยางยั่งยืน แบบต่าง ๆ เรียนรู้ ปรับใช้ตามบริบทโดยได้รับการสนับสนุนจาก กยท.
  3. ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการ เชื่อมโยงเครือข่ายกับเกษตรต้นแบบ และหรือสถาบันเกษตรที่สังกัด พร้อมถอดบทเรียนเพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์สวนยางยั่งยืน
  4. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนวิเคราะห์ รูปแบบ/วิธีการปรับใช้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง ที่เหมาะสมและสรุปร่างข้อเสนอ
  5. เครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. เวทีนโยบายพืชร่วมยางหรือเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางระดับภาคใต้ รวมประมวลสรุป ผลักดันนโยบาย

หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะจากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพรซึ่งได้นำแนวทางระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ มาดำเนินการโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดและเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ปี 2561-2565 "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล  ประกอบกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรที่ได้ประกาศวาระสุขภาพที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ใน 3 เรื่องได้แก่ การลดละเลิกสารเคมีเกษตร  จัดการโรคเรื้อรัง และสุขภาวะผู้สูงอายุ ในส่วนภาคประชาสังคมและสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นได้แก่ เกษตรสุขภาวะ:ครัวเรือนพอเพียง เมืองน่าอยู่:จัดการปัจจัยเสี่ยง จัดการทรัพยากรธรรมธรรมชาติ:การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ดังนั้นหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด Node Flagship Chumphon หรือสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้สนับสนุนพื้นที่การสร้างเสริมสุขภาวะ มาต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวน 67 พื้นที่/ชุมชน ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดชุมพร หน่วยประสานจัดการจังหวัดชุมพรและภาคียุทธศาสตร์ได้ร่วมกันพิจารณาสถานการณ์และประเด็นสุขภาวะที่สำคัญต่อการคุณภาพชีวิตผู้คนจังหวัดชุมพร และคำนึงถึงความเป็นไปได้ การมีส่วนร่วมของของภาคีเครือข่ายต่อการขับเคลื่อนในอนาคต จึงได้เลือก 2 ประเด็น ได้แก่  1)เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ เกษตรสุขภาพ จึงมีนิยามความหมาย : การผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสุขภาวะ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ฯลฯ รวมความถึงกระบวนการผลิตต่อเนื่องอันนำสู่การเป็นอาหารปลอดภัย    2)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ นิยามความหมายดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การพัฒนาให้เกิด  ความอยู่ดีมีสุข (well being) ของบุคคลและสังคม  อันประกอบด้วย 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีจุดเน้นในการจัดการสุขภาพโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สถานการณ์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร อาหารปลอดภัย โดยมีมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่  มีการทำเกษตรยั่งยืน 29,457 ไร่ 1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร 2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41%  และเป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน 3.75 ล้านไร่ ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด) ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23 ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน ปี 2558 : 19.49  ปี 2559: 24.72 ปี 2560:25.51 ปี 2561: 26.16 มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 % เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 % และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11 ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27% ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25% ชุมพร 40% ปี 61 ศคร.11 : 23% ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000 บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุมพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 7)ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร/บริษัทชุมพรออร์แกนิค จำกัด  ฯ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น ผลลัพธ์ระยะยาว 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม) ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย อย่างน้อย 10 %  (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่ มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย  มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ  เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่สำคัญ มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ )  มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่  มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต  มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญ  มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก)  มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น ตลาดออนไลน์  ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม ทั้งนี้หน่วยประสานจัดการ Node Flagship Chumphon ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 17 โครงการ/กลุ่มเครือข่าย ครอบคลุม 35 ตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร และจัดกลไกสนับสนุนไว้สามระดับคือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะทำงานสนับสนุนวิชาการ และคณะทำงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ และได้ประสานร่วมมือกับสภาเครือข่ายชาวสวนยาง และสมาคมชาวสวนยางภาคใต้ โดยมีเป้าหมายให้เกิดข้อเสนอสวนยางยั่งยืน และ แผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ภายใน 1 ปี จึงต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่จะบรรลุเป้าหมาย ชุมพรมหานครสุขภาวะ หรือชุมพรเมืองน่าอยู่

กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ นั้นได้สอดคล้องกับศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (สนส.มอ.) ที่สนับสนุนการขยายผลการดำเนินงานของความมั่นคงทางอาหาร ในระยะที่ 3 โครงการมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) คณะทำงานโครงการทำความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อจัดทำ road map ในการขยายผล model พืชร่วมยาง (เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ กยท. นักวิชาการ ร่วมคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย และพัฒนารูปแบบวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เพื่อนำไปให้เกษตรกรไปปรับใช้) 2) คณะทำงานโครงการร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ด้านวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยางเกษตรกร 3) เครือข่ายนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร มรท.ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช ม.อ.สุราษฎร์ธานี ติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ และถอดบทเรียน เพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์ในการขยายผลรูปแบบพืชร่วมยาง 4) นักวิชาการประเมินและวิเคราะห์รูปแบบพืชร่วมยบาง วนเกษตร ฯ จากแปลงต้นแบบของเกษตรกรที่มีการนำร่องนำรูปแบบไปใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบ ฯ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่แต่ละจังหวัด
5) คณะทำงานทำความร่วมมือกับ กยท. ในการผลักดันนโยบายแนวทางการทำวนเกษตร เกษตรผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง (แบบ 5) 6) คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดเวทีนโยบายเรื่องพืชร่วมยางและทำความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายและการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบพืชร่วมยาง วนเกษตร ผสมผสานในสวนยาง หรือพืชร่วมยาง เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ 7) คณะทำงานร่วมกับภาครีเครือข่าย เช่นเกษตรจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ภาคใต้ในการขยายผลการการทำยุทธศาสตร์ข้าวอินทรีย์สู่การทำเกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ในพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัด 8) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์จัดทำยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง และนราธิวาส
9) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ประชุมคณะทำงาน เพื่อเตรียมร่างรับฟังความเห็นยุทธศาสตร์ เกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดเป้าหมาย
10) คณะทำงานทำความร่วมมือกับท้องถิ่นจังหวัดเป้าหมายในการขยายผลและสร้างปฏิบัติรูปแบบการดำเนินงานตำบลบูรณาการระบบอาหารในระดับตำบล ในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน โซนละ 1 จังหวัด รวม 4 จังหวัด (ชุมพร ระนอง นครศรีธรรมราช และนราธิวาส) 11) คณะทำงานร่วมกับภาคียุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง และผู้เกี่ยวข้องในการขยายผลตำบลบูรณาการ 12) คณะทำงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแก่กลุ่มแกนนำ 4 จังหวัด รวม 40 ตำบล ตำบลละ 3 คน เพื่อเรียนรู้การปฏิบัติการ ดำเนินงานตำบลบูรณาการอาหาร 13) คณะทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายอาหารระดับ14 จังหวัดภาคใต้ จัดเวทีนโยบายประเด็นระบบอาหารระดับภาค จากการทบทวนบทเรียนและสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารของพื้นที่ ของคณะทำงานฯ จึงมีกรอบการดำเนินงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยเชื่อมโยงประเด็นการขับเคลื่อนขยายผลพืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการอาหาร ยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัด ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ซึ่งยึดหลักการพัฒนาใช้ฐานพื้นที่เป็นตัวตั้ง อันเป็นการสร้างตัวอย่างหรือรูปแบบภาคใต้แห่งความสุข โดยมีกรอบการดำเนินงานระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้

วัตถุประสงค์ของโครงการ / ตัวชี้วัด / การดำเนินกิจกรรม

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ / เป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

วัตถุประสงค์โดยตรง

เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการขยายผลเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตรในพื้นที่
  1. เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90
  2. ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 90
  3. เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง) 4)จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
เพื่อติดตาม สนับสนุนและสังเคราะห์ความรู้พร้อมข้อเสนอต่อการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่

เกิดเครือข่ายจาก 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ  ภาคเอกชน  ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมฯ

กิจกรรมหลัก

วันที่ทำกิจกรรมชื่อกิจกรรมหลักงบประมาณ
(บาท)
กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
กิจกรรม
(ครั้ง)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
(ครั้ง)
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

กิจกรรมย่อยที่ยังไม่กำหนดกิจกรรมหลัก

22 ส.ค. 2563 ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 30 38255.00
2 ก.ย. 2563 ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2 20 7145.00
2 ต.ค. 2563 ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด 10 50000.00
20 ม.ค. 2564 ประชุมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 ราย 32 0.00
28 ม.ค. 2564 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทบทวนวิเคราะห์ รูปแบบ/วิธีการปรับใช้การทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง ที่เหมาะสมและสรุปร่างข้อเสนอ 30 36350.00
28 มี.ค. 2564 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. 50 0.00
29 มี.ค. 2564 พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. 2 55 0.00
22 พ.ค. 2564 การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3 13 10000.00
14 มิ.ย. 2564 การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 4 12 1000.00
20 ต.ค. 2564 เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 30 20250.00
รวม 0.00 0 10 163,000.00 9 171,889.00

คำเตือน : งบประมาณของกิจกรรมหลัก (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมย่อย (163,000.00 บาท)

คำเตือน : งบประมาณของโครงการ (200,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณของกิจกรรมหลัก (0.00 บาท)

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 น.

วันที่ - เวลากิจกรรม - รายละเอียด
20 ตุลาคม 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 20 ตุลาคม 2564 17:08:04
Project owner
แก้ไขโดย Kero เมื่อ 21 ตุลาคม 2564 18:57:12 น.

ชื่อกิจกรรม : เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท. จัดทำพัฒนาข้อเสนอ แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประสานผู้ช่วย กยท.เขต เพื่อให้รับรู้การขับเคลื่อนงานและนัดหมายจัดประชุมเพื่อร่วมวางแนวทางขับเคลื่อนและพัฒนาข้อเสนอ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การยางแห่งประเทศไทยมีการจัดสรรงบประมาณ 49 (3) ซึ่งในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีการอนุมัติไป  8 โครงการมีการกำหนดการจัดส่งโครงการภายใน 30 ต.ค
  สาขาเมือง    สหกรณ์สวนยางบ้านแหลมปาย        500,000  บาท (เงืนอยู่ที่เขต)   สาขาเมือง    สหกรณ์สวนยางบ้านในเหมือง        300,000  บาท   สาขาท่าแซะ  สหกรณ์สวนยางบ้านหินแก้ว            80,000    บาท (เปลี่ยนโครงการ)     สาขาท่าแซะ  สหกรณ์สวนยางพรุตะเคียน            270,000  บาท   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางบ้านทรายแก้ว        250,000  บาท     สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางคลองวังช้าง          300,000    บาท   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางดอนยาง              318,752  บาท (เงินอยู่ที่เขต)   สาขาปะทิว    สหกรณ์สวนยางสมบูรณ์พัฒนา        249,000  บาท     การจัดสรรเป้าหมายการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกทดแทน ปีงบประมาณ 2565 ตามอัตราส่วนการอนุมัติของปี 2564 จังหวัดชุมพรดังนี้ 1) ยาง= 1,600  2) ไม้ยืนต้น = 2,600  3) ผสมผสาน = 3,250  4) พืชคลุม = 920  5) พืชแซม = 2,150  ดังนั้นการยื่นขอรับการส่งเสริมสนับสนุนการปลูกแทนในปี 65 จะยึดถือตามอัตราอ้างอิงนี้ ส่วนการจัดสรรปุ๋ยให้แก่เกษตรกรสวนยางในปี 64 การยางมีแนวคิดที่จะสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง/ผู้ประกอบการการค้าปุ๋ยเคมีเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกรวมทั้งเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรผู้รับการปลูกทดแทนด้วยยางพันธุ์ดี ปุ๋ยยางมีคุณภาพ เหมาะสมด้านราคา และเป็นธรรมกับเกษตรกร

    การขับเคลื่อนสังเคราะห์รูปแบบและข้อเสนอสวนยางยังยืน(พืชร่วมร่วมยาง) ชุมพร-ระนอง   การดำเนินงานศึกษารูปแบบการทำสวนยางยั่งยืนของชุมพร-ระนอง  ในการทำการส่งเสริมการผลิตตามแบบ 3  เกษตรผสมผสานของคณะทำงานจังหวัดชุมพรและระนอง (กยท.-ผู้แทนคณะกรรมการสถาบันเกษตรกรฯ-สมาคมประชาสังคมชุมพร-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)  ภายใต้แผนงานความมั่นคงทางอาหาร  ของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ  มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ 1) รูปแบบการจัดการสวนยางยั่งยืน(พืชร่วมยาง)  สามารถจำแนกได้ใน 2 ลักษณะ คือ  ขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน  และรูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน  5  รูปแบบ(เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล,เกษตรผสมผสาน,เกษตรอินทรีย์,วนเกษตร,เกษตรธรรมชาติ)  รูปแบบและปัจจัยเงื่อนในการทำการเกษตร 1.1 รูปแบบจากขนาดและการใช้ประโยชน์จากที่ดิน
รูปแบบ การดำเนินผลิตในแปลง ปัจจัยเงื่อนไข 1.ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 10  ไร่ (ค่าเฉลี่ยการถือครองที่ดินเกษตรชาวสวนยาง 11.5 ไร่ต่อราย) -มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานทั้งปลูกพืชหลากหลายชนิด  มีกิจกรรมการผลิตในแปลงเลี้ยงสัตว์  เลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป และการจัดการตลาดครบวงจร -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย 2.ขนาดพื้นที่ ไม่เกิน 11-50  ไร่ มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนนิ่งการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  และมีกิจกรรมการผลิตหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 4 ราย 3.ขนาดพื้นที่ มากกว่า 50  ไร่ขึ้นไป มีการดำเนินการผลิตในแบบเกษตรผสมผสานโดยจัดโซนพื้นที่เพื่อทำการผลิตหรือเพาะปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์  ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่  และแรงงานในแปลง เกษตร มีหลากหลายกิจกรรมทั้งพืชและสัตว์ -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย

1.2  รูปแบบการผลิตตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน  5  รูปแบบ รูปแบบ การดำเนินผลิตในแปลง ปัจจัยเงื่อนไข 1.เกษตรทฤษฎีใหม่-โคกหนองนาโมเดล เกษตรทฤษฎีใหม่ (New theory agriculture) เน้นหนักการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้เพียงพอเพื่อผลิตพืชอาหาร โดยเฉพาะข้าวเอาไว้บริโภคในครัวเรือน รวมทั้งมีการผลิตอื่น ๆ เพื่อบริโภคและจำหน่าย ส่วนที่เหลือแก่ตลาด เพื่อสร้างรายได้อย่างพอเพียง -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและมีแรงงานในครัวเรือนอย่างน้อย 2 ราย -มีเป้าหมายในการทำการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนเป็นขั้นต้น แล้วค่อยแปรรูปหรือจำหน่ายเพิ่มรายได้ 2.เกษตรผสมผสาน เกษตรผสมผสาน (Integrated farming) เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไปในเวลาเดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้มากขึ้นจากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่ดินที่มีจำกัด ในไร่นาให้เกิดประโยชน์สูงสุด -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรอย่างน้อย 2 ราย 3.เกษตรอินทรีย์ เกษตรอินทรีย์ (Organic farming) เน้นหนักการผลิตที่ไม่ใช้สารอนินทรีย์เคมี หรือเคมีสังเคราะห์ แต่สามารถใช้อินทรีย์เคมีได้ เช่น สารสกัดจากสะเดา ตะไคร้หอมหรือสารสกัดชีวภาพเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ทรัพยากรดิน -พื้นทีแปลงมีแหล่งน้ำในแปลง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรมากกว่า 4 ราย -กรณีมุ่งเน้นการตลาดจำเป็นต้องมีกระบวนการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร 4.วนเกษตร วนเกษตรหรือไร่นาป่าผสม (Agroforesty) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน ทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ของทรัพยากรป่าไม้ที่มีจำกัดได้อีกทางหนึ่ง -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต 5.เกษตรธรรมชาติ เกษตรธรรมชาติ (Natural farming) เน้นหนักการทำเกษตรที่ไม่รบกวนธรรมชาติ หรือรบกวนให้น้อยที่สุดที่จะทำได้ โดยการไม่ไถพรวน ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี และไม่กำจัดวัชพืช แต่สามารถมีการคลุมดินและใช้ ปุ๋ยพืชสดได้ -เกษตรกรมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -เกษตรกรมีทุนหรือสินทรัพย์เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการผลิตที่เพียงพอ -มีแรงงานในการทำเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่และกิจกรรมการผลิต

    2) ปัจจัยเงื่อนความสำเร็จโดยภาพรวมจากบทเรียนของเกษตรต้นแบบสวนยางยั่งยืน 2.1  เกษตรกรมีภูมิความรู้  ต้นทุนและสินทรัพย์เพื่อการผลิตที่เพียงพอและเหมาะต่อการทำการผลิตในแต่ละรูปแบบการผลิตต่าง ๆ และมีการออกแบบวางแผนการผลิตที่ดีตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 2.2  ความสามารถของเกษตรกรในการเข้าถึงความรู้ใหม่ ๆ  เครือข่ายการเรียนรู้และการผลิต  เทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ  และเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อนำมาใช้ในการผลิต (เกษตรกรที่เป็นแปลงต้นแบบ  ส่วนใหญ่เป็นผู้นำหรือแกนนำเกษตรกร) 2.3 สภาพแปลงเกษตร ที่มีแหล่งน้ำ หรือมีระบบการจัดการน้ำที่ดีเหมาะสมมีประสิทธิภาพจึงจะเอื้อให้ทำการเกษตรผมผสานได้สำเร็จ 2.4 มีแรงงานในครัวเรือนหรือสามารถจัดการแรงงานได้เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตแต่ละประเภท 2.5 การเพิ่มมูลค่าในผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ในแปลงเกษตร ให้เกิดรายได้  รวมถึงความสามารถในการจัดการตลาดทั้งรูปแบบ หน้าฟาร์มหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ดูงาน  ตลาดออนไลน์  ตลาดท้องถิ่น

  3) ข้อเสนอต่อการส่งเสริมและพัฒนาสวนยางยั่งยืน(พืชร่วมยาง)

3.1 ขอให้การยางแห่งประเทศไทยขยายรูปแบบการให้ทุนสงเคราะห์ปลูกแทน ควรขยายไปถึงการให้ทุนปลูกแทนในสวนยางอายุเกิน 25 ปี โดยไม่ต้องโค่นปลูกใหม่ แต่ใช้รูปแบบที่เหมาะสมเช่น  รูปแบบผสมผสาน:กยท. 3    (เกษตรกรรมยั่งยืน) และเพิ่มปริมาณเป้าหมายการส่งเสริมสนับสนุนเกษตรผสมผสานในแต่ละปี (สัดส่วนเป้าหมายพื้นที่ 10-20-30-40-50 %  ของเกษตรกรชาวสวนยาง) เพื่อนำไปสู่การทำสวนยางยั่งยืนของเกษตรชาวสวน 3.2.ขอให้การยางแห่งประเทศไทยมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ จากบัตรสีชมพูเป็นบัตรเขียว สามารถทำได้และมีสิทธิในการรับสวัสดิการและผลประโยชน์เช่นเดียวกับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วไป 3.3ขอให้การยางแห่งประเทศไทยดำเนินการ หรือประสานความร่วมมือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและภาคีเครือข่ายต่างๆ  มีการส่งเสริมสนับสนุนการทำสวนยางยั่งยืน ดังนี้
-การจัดกระบวนการเรียนรู้สวนยางยั่งยืนที่ต่อเนื่อง  โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่  หรือการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้หรือศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน - จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศสวนยางยั่งยืน  ที่เกษตรกรเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่ายผ่านแพลตฟอร์มและแอพพิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
-  มีมาตรการหรือเพิ่มแรงจูงใจการทำสวนยางยั่งยืน  ที่ชัดเจน เช่นงบประมาณสมทบสำหรับผู้ข้อทุนประเภทสวนยางยั่งยืนเพิ่มขึ้นไร่ละ 10,000 บาท การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและเทคโนยีการผลิตให้กับเกษตรกรชาวสวนยางรูปแบบนำร่องหรือเป็นแหล่งเรียนรู้ เช่นระบบน้ำด้วยโซล่าเซล  การผลิตสารชีวภัณฑ์ -มีกลไกการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนที่ชัดเจน เช่นคณะกรรมการหรืออนุกรรมการขับเคลื่อน/ส่งเสริมสนับสนุนสวนยางยั่งยืน
4). ขอให้การยางแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีวิชาการ  มีการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรการผลิตที่สำคัญเช่น    พันธุ์ยางพื้นบ้านที่ต้านทานโรคอุบัติใหม่  นำมาใช้เป็นต้นตอที่เพียงพอ  การคัดเลือก  รับรองและพัฒนาพันธุ์ยางต้านทานโรคให้ผลผลิตสูงร่วมกับเกษตรกร  มีการพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน  รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิต และทรัพยากรการผลิตอื่นๆ

  1. แนวทางการดำเนินงานสวนยางยั่งยืนร่วมกันในจังหวัดชุมพร     (ร่าง)การจัดตั้งกลไกการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนจังหวัดชุมพร (คณะกรรมการหรืออนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนสวนยางยั่งยืน)       - เกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร       -  ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จังหวัด:ชุมพร       - .ตัวแทนจากกรมทรัพยากร       -  สภาเกษตรกรในพื้นที่
          -  ผู้แทนกรรมการสถาบันเกษตรกร.ทั้ง 3 สาขา       -  นักวิชาการหรือภาคประชาสังคมในพื้นที่  ตัวแทนสมาคมประชาสังคมชุมพร

  2. การยกระดับและพัฒนาแปลงต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ของเกษตรชาวสวนยาง
          - เสริมกิจกรรมการสร้างรายได้ที่ชัดเจนเป็นระบบ         - ฝึกอบรมกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต         - สนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น ผังแปลง กระบวนการเรียนรู้         - อาคารหรือพื้นที่ถ่ายทอดความรู้

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
6 ตุลาคม 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 6 ตุลาคม 2564 15:48:55
Project owner

ชื่อกิจกรรม : การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 4

  • photo
คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประสานภาคีที่เกี่ยวข้องและส่งหนังสือเชิญประชุมโดยจะทำการพูดคุยเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลการถอดบทเรียน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีชุดถอดบทเรียนระดับพื้นที่ จำนวน 10 ต้นแบบซึ่งใช้กระบวนการถอดบทเรียนจาก สนส. เพื่อให้กรอกการถอดบทเรียนครอบคลุมทุกมิติ โดยมีการกระจายในแต่ละอำเภอ คือ ท่าแซะ  สวนลุงนก  ปะทิวสวนนายวิศุทธ์  สวี สวนมลินี  หลังสวน  สวนพิทยาและจารี  ละแม สวนนายวิเวก  นายพฤติ  นายประสาร  นายสมคิด  นายอดิศักดิ์  ดังนั้นจึงต้องดูเนื้องานการถอดบทเรียนของแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะข้อมูลรายแปลง ข้อมูลเศรษฐศาสตร์ของพื้นที่ ตามนี้ 1. บริบทพื้นที่และแรงบันดาลใจในการเกษตรสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง) 2.    ความคาดหวังต่อการทำเกษตรสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง) 3.    การเกษตรผสมผสานโดยจัดรูปแบบปลูกพืชสลับแถว 4      ผลผลิตและ รายได้/รายจ่ายครัวเรือนเป็นอย่างไร (รายได้ครัวเรือนเพิ่มเท่าไหร่/รายจ่ายค่าอาหารลดลงหรือไม่
  5. การเป็นสมาชิกกลุ่มสถาบันเกษตรกร เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกร ฯลฯ  และบทบาทหน้าที่ในกลุ่ม การได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่ม
  6.การบรรลุเป้าหมายจากทำสวนยางยั่งยืน  (พืชร่วมยาง)หรือไม่อย่างไร
  7. ปัจจัยที่ทำให้ท่านทำพืชร่วมยางประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง (ทุน การสนับสนุนจากภายนอก -องค์ความรู้)   8. ปัญหา อุปสรรคจากการทำสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง) อย่างไร
  9. การทำสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง)ในอนาคตอย่างไร และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้กับพืชเชิงเดี่ยวอื่น เช่น สวนปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ลองกอง ฯลฯ 10. ข้อเสนอแนะอะไรบ้างต่อหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น กยท. /สนง.เกษตร/ เกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ ในการทำนโยบายสวนยางยั่งยืน (พืชร่วมยาง)
  จากการดูตัวอย่างจะมีบางพื้นที่ยังมีการเขียนไม่ครอบคุมจึงอาจต้องนำไปดูและเพิ่มข้อมูลในแต่ละด้านที่สอดคล้องกับพื้นที่ เช่น  หากมีผลผลิตจากผักพื้นบ้านมีกี่ชนิด แต่ละชนิดเก้บกี่ครั้ง  ขายได้เท่าไหร่ /วัน/ปี

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
28 กันยายน 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 28 กันยายน 2564 13:51:17
Project owner
แก้ไขโดย Kero เมื่อ 13 มกราคม 2565 17:40:18 น.

ชื่อกิจกรรม : ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ทีมวิชาการประสานกับ กยท.เพื่อประเมินการทำสวนยางยั่งยืน(ผสมผสาน)เพื่อลงพื้นที่ถอดบทเรียนการทำสวนยาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดชุดข้อมูลในการถอดบทเรียนพื้นที่ต้นแบบจำนวน 10 พื้นที่ ซึ่งมีการปลูกพืชร่วมยาง เช่น ปลูกแบบนวเกษตร  ปลูกแบบผสมผสาน  ทีมีความแตกต่างกันของแต่ละพื้นที่ เช่น ปลูกยางร่วมกับมะพร้าว  ปลูกร่วมกับผักกินใบรวมถึงการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ โดยมีการกระจายอยู่เกือบทุกอำเภอในจังหวัดชุมพร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
22 พฤษภาคม 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 6 ตุลาคม 2564 15:06:50
Project owner
แก้ไขโดย Kero เมื่อ 6 ตุลาคม 2564 15:20:18 น.

ชื่อกิจกรรม : การประชุมคณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้องจังหวัดชุมพร ครั้งที่ 3

  • photo
  • photo
คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประสานงานการเข้าร่วมประชุมกับภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อออกแบบการขับเคลื่อนงานพืชร่วมยางในระดับพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การขับเคลื่อนงานพืชร่วมยางในจังหวัดชุมพรได้มีการคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบซึ่งในการคัดเลือกโดยทาง กยท.ชุมพร หลังจากได้ลงพื้นที่และร่วมพูดคุยกับประธานกรรมการสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจึงได้เสนอรายชื่อเพิ่มเติมจำนวน 4 คนที่ไม่ได้รับการสนับสนุนโซล่าร์เซลล์เพื่อให้เกิดการเปรียบเทียบในการขับเคลื่อนและเป็นกรณีศึกษาในระดับพื้นที่ เช่น การปลูกยางร่วมกับมะพร้าว  ปลูกยางร่วมกับผักเหลียง เป็นต้น

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
8 เมษายน 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 8 เมษายน 2564 13:59:11
Project owner
แก้ไขโดย Kero เมื่อ 28 กันยายน 2564 13:38:44 น.

ชื่อกิจกรรม : พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท. 2

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

-แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -พัฒนาศักยภาพเกษตรกรชาวสวนยางต้นแบบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเพิ่มจุลินทรีย์ในน้ำยางเป็นความรู้ที่มีมายาวนานแต่คนภาคใต้ยังไม่ได้ศึกษาความรู้เรื่องนี้แบบจริงจังจึงทำให้น้ำยางของใต้เรามีคุณภาพไม่ดีและมีการไหลของน้ำยางที่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นการจัดประชุมในครั้งนี้จึงจะเป็นอีก 1 ช่องทางที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของเกษตรกรชาวสวนยางซึ่งในครั้งนี้จึงได้เชิญวิทยากรที่มีความชำนาญมาให้ความรู้พร้อมปฎิบัติ   การเพิ่มจุลินทรีย์ในน้ำยางซึ่งใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น การทำอีเอ็มเซรามิค ถ่านอีเอ็ม เป็นต้น   หลุดจากกับดักเกษตรแบบดั่งเดิมเข้าสู่การเกษตรอนาคตในอุดมคติ อีเอ็มเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นในระดับสุงสุด ก้าวข้ามการเกาตรเคมีที่สร้างมลพิษทำลายสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่ความล่มสลายของสรรพชีวิตและโลกเพื่อให้หลุดพ้นจากกับดักการเกษตรเคมีแบบปัจจุบันจะต้องใช้กระบวนการผลิตที่จะเพิ่มพลังในการฟื้นฟูของจุลินทรีย์ในดินเพื่อสร้างแนวป้องกันการฟื้นฟูดิน น้ำ อากาศและธรรมชาติที่แข็งแรงโดยจะมีกระบวนการทำงาน   1.เตรียมน้ำหมักสูตรเนเจอร์แคร์โดยเพิ่มน้ำ 5 เท่าจากสูตรเดิมหรือขยายอีเอ็มด้วยน้ำทะเลที่หมักไว้เกิน 1 เดือน   2. ผลิตถ่านอีเอ็มโดยใช้ใบไม้ กิ่งไม้ ฟาง หญ้าที่เป็นชนิดและขนาดเดียวกันตากให้แห้งและเผาจนการไหม้สมบูรณ์และทำการดับไฟด้วยน้ำหมักเนเจอร์แคร์ 3.ผลิตโบกาฉิถ่าน-เกลือ โดยนำเกลือหรือกากน้ำปลาจะใช้เกลือ0.5-1 ส่วน ถ่าน 1 ส่วนผสมให้เข้ากันผลิตภัณฑ์ที่ได้นอกจากสามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างดีเยี่ยมแล้วจะทำให้เกิดปุ๋ยในตัวระดับสูงที่ปุ๋ยเคมีไม่อาจบรรลุผลได้อีกด้วย 4.ผลิตถ่านอินทรีย์เอนกประสงค์ เตรียมปุ๋ยหมัก เศษอาหาร โบกาฉิหรือปุ๋ยหมักทั่วไปในจำนวนที่เท่ากับโบกาถ่าน เกลือ นำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีบรรจุในกระสอบที่เคลือบพลาสติกหมักแบบไร้อากาศหรือจะหมักในถังพลาสติกที่มีฝาล็อกก็ได้ใช้เวลาหมัก 15 ขึ้นไปถ้าเกินเดือนจะยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะจุลินทรีย์จะทำการย่อยสลายปุ๋ยจนสามารถใช้ได้ดียิ่งขึ้น   ถ่านอินทรีย์เอนกประสงค์ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ -ใช้เกลือที่ผ่านการผลิตด้วยเทคนิคอีเอ็มแต่ถ้าไม่มีให้ใช้อีเอ็มที่ขยายจากน้ำทะเลหรือผสมกับเกลือทั่วไปและหมักไว้ในภาชนะทิ้งไว้ประมาณอาทิตย์หนึ่งก็สามารถนำมาใช้ได้   การผลิตถ่านอีเอ็ม -ใช้ใบไม้ ฟาง กิ่งไม้ที่ตัดแตงออก ขี้เลื่อยขยะจากการเกษตร ไม้ทั่วไปนำมาตากให้แห้งหลังจากนั้นจึงนำมาเผาในเตาแบบไร้ควัน ที่มีเส้นผ่านศุนย์กลาง 100 ซ.ม ด้านล่างแล้วทำมุมเอียงขึ้นไปด้านบน 60 องศา ที่มีความสูงหรือความลึกประมาณ 45-50 ซ.ม -การเผาควรใช้วัสดุเผาที่เป็นชนิดและขนาดใกล้เคียงกัน วางเผาในแนวนอนเมื่อสังเกตว่าไหม้เป็นถ่านแล้วให้ดับไฟด้วยอีเอ็มที่ขยายด้วยน้ำทะเล -เติมเกลือลงไปในถ่าน ในอัตราส่วน 0.5 : 1 หรือ 1:1 ทำการผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันนำไปใส่ถึงปุ๋ยหรือภาชนะและควรนำไปใช้เลยเนื่องจากเกลือมีแนวโน้มที่จะดูดซับความชื้นสูง ควรเก็บไว้ในถุงหรือภาชนะที่ป้องกันการดูดซับความชื้น  ในกรณีที่ต้องเก็บไว้เป็นเวลานาน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
28 มีนาคม 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 7 เมษายน 2564 23:11:29
Project owner
แก้ไขโดย Kero เมื่อ 28 กันยายน 2564 13:36:37 น.

ชื่อกิจกรรม : พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 รายร่วมกับ กยท.

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประชุมทีมตัวแทน กยท.เพื่อออกแบบกิจกรรมและประสานวิทยากรเปิดรับสมัครผุ้อยากเรียนรู้เพิ่มเติม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การยางแห่งประเทศไทยมีการสนับสนุนให้เกษตรกรทำสวนยางยั่งยืนจากการขอสงเคราะห์ตามมาตรา 49(2) ในรูปแบบ 3 คือการปลูกแบบผสมผสานซึ่งเป็นแรงจูงใจให้ต่อจากการสงเคราะห์ไร่ละ 16,000 บาทตามระเบียบ ทาง กยท.แห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นว่าการปลูกแบบผสมผสานซึ่งต้องมีส่วนประกอบของน้ำ ดังนั้นจึงได้มีการสนับสนุนโซล่าเซลล์ให้กับแปลงต้นแบบจำนวน 18 รายในเขตเมืองชุมพร แต่ทาง กยท.แห่งประเทศไทยไม่ได้มีการให้ความรู้ในการดูแลรักษาระบบโซล่าร์เซลล์ทำให้ผู้ที่ได้รับขาดความรู้ในการดูแลรักษาซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับชาวเกษตรกรสวนยาง จึงได้นำเรื่องนี้มาพูดคุยและได้รับการสนับสนุนจากสมาคมประชาสังคมชุมพรซึ่งได้รับงบประมาณการขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืนจากสำนักนโยบายสาธารณะ(มอ.หาดใหญ่)ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้     การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าด้วยระบบโซล่าเซลล์   โซล่าเซลล์ คือ ระบบโฟตอนที่ใช้การผลักพลังงานซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติในการสร้างกระแสไฟซึ่งจากการทำงานต้องมีการแปลงกระแสไฟซึ่งในบ้านที่เราใช้อยู่เป็นกระแสสลับเพราะจะทำให้การส่งไฟได้เร็ว ซึ่งการทำให้เกิดพลังงานจะต้องมีกระแสความดัน ตามทฤษฎี 1 แรงม้าเท่ากับ 750  วัตต์ การดูแลรักษาแผลโซล่าเซลล์จะต้องทำความสะอาดด้วยน้ำเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานมีประสิทธิภาพ การติดตั้งแผงควรติดตั้งตามเส้นศูนย์สูตรของโลกเพื่อให้เกิดการรับแสงที่ดีจากดวงอาทิตย์ ลักษณะคลื่นจะมี 3 ชนิด คลื่นบริสุทธิ์  คลื่นตกแต่ง คลื่นสี่เหลี่ยม


  ระบบโซล่าเซลล์มี 4 ระบบ  คือ
  1.ระบบ ON-Grid  คือ ระบบที่ใช้ร่วมกับสายส่งของการไฟฟ้าและเป็นระบบผสมไฟฟ้า   2.ระบบ Hybrid system  คือ ระบบที่ใช้แบบผสมทั้งไฟฟ้าและพลังงานโซล่าเซลล์   3.ระบบHybrid On – Off Grid คือ ระบบผสมที่ใช้กับไฟฟ้าหรือไม่ใช้ก็ได้   4.ระบบ Off-Grid  คือ ไม่ใช้ไฟจากการไฟฟ้าแต่ใช้ไฟจากโซล่าเซลล์


  สรุปภาพการขับเคลื่อน

    1.การสร้างทีมช่างเพื่อให้เกิดการดูแลรักษาระบบโซล่าร์เซลล์ในจังหวัดชุมพรโดยมีสมาคมประชาสังคมชุมพรเป็นทีมประสาน     2. การติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและองค์การบริหารส่วนจังหวัด     3. กลุ่มยื่นขอทุนจาก กยท.ในแบบที่ 3     4. รวบรวมรายชื่อเข้าเสนอในเวที สว.พบประชาชน ณ.สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน     5. ทุนสินเชื่อหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ธกส.     6. การจัดการน้ำ/สิ่งแวดล้อมเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
20 มกราคม 2564
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 8 เมษายน 2564 09:06:12
Project owner

ชื่อกิจกรรม : ประชุมพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 10 ราย

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

ประสานกลุ่มเป้าหมาย  ออกแบบกิจกรรม -แลกเปลี่ยนเรียนรู้เส้นทางพัฒนาการ -นำชมแลกเปลี่ยนรูปแบบการจัดทำสวนยางแบบวนเกษตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) เรียนรู้พัฒนาการทำเกษตร :  นายฉลองชาติ ยังปักษี.  เลขที่  120 ม.15 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร  มีพื้นที่จำนวน 45 ไร่  ทำการเกษตรผสมผสานและวนเกษตร      ปลูกยางพารา/พืชแซมด้วยไม้ป่า  ปาล์มน้ำมันและเลี้ยงสัตว์  มาตั้งแต่ พศ.2535    หลังจากได้โอกาสไปศึกษาเรียนรู้และฝึกอบรมจากหลายๆ แหล่งเรียนรู้ หลาย ๆ ครั้ง  จนตกผลึกโดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง    การทำกสิกรรมธรรมชาติ        หลักการ “ปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง”  คือ การปลูกไม้ผล  ไม้สร้างบ้าน  ไม้ใช้สอย  อันได้ประโยชน์คือ  ได้กินเป็นอาหาร  เป็นที่อยู่อาศัย  เป็นฟืน/พลังงาน  และรักษาความอุดมสมบูรณ์ดินน้ำ-ป่า
ในปี 52 ได้เปิดศูนย์พัฒนาศึกษาเกษตรธรรมชาติ  จัดกระบวนการเรียนรู้/ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตร  การทำสวนยางแบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ  การแปรรูปผลผลิตเกษตร  พลังงานทดแทน  ทำเกษตรปศุสัตว์ทั้งเลี้ยงวัว/หมู  การเลี้ยงปลา ฯลฯ
2) นำชมแปลง  โดยนายฉลองชาติ (หลวงนก) ยังปักษี  เป็นผู้บอกเล่าแก่ผู้แทนเกษตรกรที่เข้าร่วมเรียนรู้จัดการแปลงสวนยางพาราในแต่ละโซนพื้นที่
โซนที่ 1  บ้านพัก/โรงอบแสงอาทิตย์/พืชผักสวนครัว
โซนที่ 2  ปลูกไม้ผล/ไม้และอ่างเก็บน้ำ
โซนที่ 3  ปลูกปาล์มและแซมด้วยพันธุ์ไม้พื้นถิ่นใต้หลากหลายชนิด
โซนที่ 4 ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ  มีอาคารที่ประชุม,ห้องน้ำ,บ่อเลี้ยงกบ,โรงผลิตปุ๋ย เป็นต้น
โซนที่ 5  สวนยางพาราและไม้ใช้สอย(ยาง,สะเดา,มะฮอกกานี,จำปา,ฯ) เลี้ยงผึ้ง,   แปลงที่ 2 พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกยางพาราและพันธ์ไม้ป่า,ไม้ใช้สอย,ไม้ผล,พืชชั้นล่าง  กระวาน,เสม็ด,ผักเหลียง,ผักกูด,พืชหัวใต้ดิน ฯ

3) สรุปศาสตร์พระราชา    การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง "การปลูกป่า 3 อย่าง แต่ให้ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งได้ไม้ผล ไม้สร้างบ้าน และไม้ฟืนนั้น สามารถให้ประโยชน์ได้ถึง 4 อย่าง คือ นอกจากประโยชน์ในตัวเองตามชื่อแล้ว ยังสามารถให้ประโยชน์อันที่ 4 ซึ่งเป็นข้อสำคัญ คือ สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและต้นน้ำลำธารด้วย "        พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร        เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2523  ณ โรงแรมรินคำ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ พอกิน  คือ การปลูกต้นไม้ที่กินได้ รวมทั้งใช้เป็นยาสมุนไพร ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น แค มะรุม ทุเรียน สะตอ ผักหวาน ฝาง แห้ม กล้วย ฟักข้าว ไม้ผลต่าง ๆ พอใช้  คือ การปลูกต้นไม้ให้เป็นป่าไม้ สำหรับทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน อาทิ ทำฟืน เผาถ่าน ทำงานหัตถกรรม หรือทำน้ำยาซักล้าง ไม้ในกลุ่มนี้ เช่น มะคำดีควาย หวาย ไผ่ หมีเหม็น พออยู่  คือ การปลูกต้นไม้ที่ใช้เนื้อไม้และไม้เชิงเศรษฐกิจให้เป็นป่า ไม้กลุ่มนี้เป็นไม้อายุยืนเพื่อใช้สร้างบ้าน ทำเครื่องเรือน ต้นไม้กลุ่มนี้ เช่น ตะเคียนทอง ยางนา สัก พะยูง พยอม พอร่มเย็น คือ ประโยชน์อย่างที่ 4  ที่เกิดจากการปลูกป่า 3 อย่าง จะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศดินและน้ำให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ ร่มรื่น และฉ่ำเย็นขึ้นมา

การปลูกป่า 5 ระดับแบบกสิกรรมธรรมชาติ  ประกอบด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดพันธุ์ โดยเราสามารถจัดแบ่งตามระดับช่วงความสูงและระบบนิเวศได้ 5 ระดับ ดังนี้ 1)ไม้สูง เป็นกลุ่มไม้เรือนยอดสูงสุดและอายุยืน ไม้ในระดับนี้ เช่น ตะเคียน ยางนา เต็ง รัง 2)ไม้กลาง เป็นกลุ่มต้นไม้ที่ไม่สูงนัก ไม้ในระดับนี้ ได้แก่ บรรดาไม้ผลที่เก็บกินได้ เช่น มะม่วง ขนุน มังคุด กระท้อน ไผ่ สะตอ 3)ไม้เตี้ย เป็นกลุ่มต้นไม้พันธุ์พุ่มเตี้ย ไม้ในระดับนี้ เช่น พริก มะเขือ กะเพรา ติ้ว ผักหวานบ้าน เหลียง 4)ไม้เลื้อยเรี่ยดิน ไม้ในระดับนี้เป็นตระกูลไม้ล้มลุกที่ทอดยอดเลื้อยได้ เช่น พริกไทย รางจืด ฟักทอง แตงกวา 5)ไม้หัวใต้ดิน ไม้หัวอยู่ใต้ดิน ไม้ในระดับนี้ คือ มัน เผือก กลอย กวาวเครือ ขิง ข่า

4.รายชื่อเกษตรกรสวนยางต้นแบบ/ตัวอย่าง 1)นายฉลองชาติ  ยังปักษี  ม.15 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร.  พื้นที่ 45 ไร่ (สวนยางแบบวนเกษตรหรือเกษตรธรรมชาติ) 2) นางจรี รัตนะ 212 ม.10  ต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพร    เนื้อที่ 9 ไร่  สวนยางแบบผสมผสาน ยั่งยืน  (ปลูกยางพารา ,เลี้ยงผึ้งโพรง    เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปลูกผักเหลียงในสวนยาง  ไม้ใช้สอย เช่น กฐินเทพา สะเดาเทียม  จำปาทอง จิก ) 3)นายอดิศักดิ์ ยมสุขขี    1 ม.1 ต.สวนแตง อ.ละแม จ.ชุมพร    เนื้อที่ปลูกยางพารา  13 ไร่ (แซมด้วยผักเหลียงและผลไม้กินผล) 4) นายแดง ทองแก้ว อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 31 ม.4 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ. ชุมพร  พื้นที่ 29 ไร่ แบ่งปลูกยางพารา 20 ไร่  อีก 9ไร่ ทำสวนยางพาราเป็นแบบผสมผสาน  ผักเหลียง,เลี้ยงสัตว์ 5) นายประสาน ลูกจันทร์ บ้านเลขที่ 30 ม.4 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม จ.ชุมพร  พื้นที่ 10 ไร่    ปลูกผักเหลียงในสวนยางนำไปสู่การเกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้น
แปลงตัวอย่าง 6) นาย      ยังปักษี    ม.14 ต.ท่าข้าม  อ.ท่าแซะ  จ.ชุมพร.
7)นายวิเวก  อมตเวทย์  130 หมู่ 10 ต.ละแม อ.ละแม  จ.ชุมพร 8)นายประนายประพฤทธิ์  ฑิตสุวรรณ    26 หมู่ 2 ต.ทุ่งคาวัด อ.ละแม  จ.ชุมพร
9)นายสมคิด ดาวเปียก  33 หมู่ 2 ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม  จ.ชุมพร 10) น.ส.มาลิณี  วงศ์สุวัฒน์  48/4 หมู่ 11 ต.ทุ่งระยะ อ.สวี  จ.ชุมพร

ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
2 กันยายน 2563
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 21 ธันวาคม 2563 11:54:48
Project owner
แก้ไขโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อ 31 มีนาคม 2564 09:39:45 น.

ชื่อกิจกรรม : ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 2

  • photo
  • photo ประชุมร่วมกับ กยท.และคณะกรรมการฯประชุมร่วมกับ กยท.และคณะกรรมการฯ
  • photo

ไฟล์ประกอบกิจกรรม

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

เชิญตัวแทนกลไกคณะทำงานทั้ง 3 กิจกรรมใช้คณะกรรมการอำนวยการ/คณะทำงาน Node flagship  สสส.ชุมพร  โดยต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้แก่ กยท.ชุมพร,กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ฯ,สนง.ปศุสัตว์จังหวัด,สนง.ประมงจังหวัดและตัวแทนคณะกรรมการเกษตรกรการยาง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดทีมขับเคลื่อนพืชร่วมยางและมีแผนการขับเคลื่อน ดังนี้

  1. ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงานจังหวัด
  2. คัดเลือกเกษตรกรนำร่อง 10 ราย/จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสวนยางยั่งยืน และการเพิ่มเติมทักษะการดูแลบำรุงรักษาระบบสูบน้ำด้วยโซลาเซล
  3. ติดตาม สนับสนุน ถอดบทเรียน
  4. เวทีแลกเปลี่ยนสรุปบทเรียน/จัดทำข้อเสนอ
  5. ร่วมเวทีสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอระดับภาคใต้ (เวทีร่วมระดับภาค)
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.
21 สิงหาคม 2563
รายงานจากพื้นที่
โพสท์โดยKeroKeroเมื่อ 20 ธันวาคม 2563 20:34:07
Project owner
แก้ไขโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อ 31 มีนาคม 2564 09:39:15 น.

ชื่อกิจกรรม : ประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและภาคีที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1

คุณภาพกิจกรรม : ()
วัตถุประสงค์

 

กิจกรรมตามแผน

จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

รายละเอียดกิจกรรมตามแผน

 

กิจกรรมที่ปฎิบัติจริง

จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 0 คน

รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

  • สร้างความเข้าใจการดำเนินงานระบบอาหาร คือ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย
  • ประเมินสถานการณ์ ออกแบบการดำเนินงานระบบอาหารที่เกี่ยวข้องกับ 3 กิจกรรมหลัก คือ ยุทธศาสตร์อาหารจังหวัด / พืชร่วมยาง /ตำบลบูรณาการอาหาร
  • กำหนดกรอบการขับเคลื่อนผนสุขภาพและระบบเกษตรและอาหารชุมพร
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกรอบการขับเคลื่อนงานตามแผนงาน
  • กลไกคณะทำงานทั้ง 3 กิจกรรมใช้คณะกรรมการอำนวยการ/คณะทำงาน Node flagship สสส.ชุมพร โดยต้องเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ได้แก่ กยท.ชุมพร,กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ฯ,สนง.ปศุสัตว์จังหวัด,สนง.ประมงจังหวัด (รายชื่อคณะกรรมการอำนวย)
  • ผู้รับผิดชอบตามภารกิจงานพืชร่วมยาง ได้แก่ นส.หนึ่งฤทัย พันกุ่ม  , ตำบลบูรณาการระบบอาหาร  ได้แก่ นายธีรนันท์ ปราบราย และคณะทำงานติดตามพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น    , แผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ได้แก่ ดร.ฐิระ ทองเหลือ และคณะทำงานและภาพรวมเชื่อมโยงทั้งหมดคณะทำงาน Node flagship สสส.ชุมพร
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

 

ข้อเสนอแนะต่อ สสส.

 

ความต้องการสนับสนุนจากพี่เลี้ยงและ สจรส. ม.อ.

 

คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ติดตามในพื้นที่

 

ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส.