สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.

PSU สถาบันนโยบายสาธารณะ

ข่าวประชาสัมพันธ์

READ ALL หัวข้อทั้งหมด:news

หัวข้อทั้งหมด

การดำเนินกิจกรรมโครงการ

เกี่ยวกับ โครงการ

ความเป็นมาหลักการและเหตุผล

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพพ.ศ. 2544 โดยมีภารกิจหลักคือมุ่งส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนากลไกการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชนไทยให้มีสุขภาวะที่ดีทั้ง4มิติได้แก่กายจิตปัญญาและสังคมโดยมีพันธกิจสำคัญคือการจุดประกายกระตุ้นสานและเสริมพลังบุคคลและองค์กรทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐเอกชนประชาสังคมสถาบันการศึกษาและชุมชนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยขับเคลื่อนทั้งในเชิงโครงสร้างการทำงานเชิงนโยบายและมาตรการทางสังคมรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพวิถีชีวิตของคนและสร้างสรรค์ระบบสังคมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดี
สสส.ดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนของประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์“สานสามพลัง”คือพลังปัญญาพลังสังคมและพลังนโยบายที่มีจุดเน้นและให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนการทำงานเชื่อมโยงระบบและกลไกขับเคลื่อนหลักพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายพร้อมทั้งหนุนเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคีทุกภาคส่วนในการใช้ศักยภาพเพื่อขับเคลื่อนการสร้างสังคมสุขภาวะให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาและการปฏิรูปประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนโดยมียุทธศาสตร์เฉพาะที่สำคัญยุทธศาสตร์หนึ่งคือ“การพัฒนาขีดความสามารถของบุคคลและองค์กรให้เท่าทันพลวัตของปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อสุขภาพรวมทั้งให้ภาคีมีขีดความสามารถในการทำงานเชิงรุกทั้งที่เป็นงานเฉพาะด้านและการบูรณาการเชื่อมโยงข้ามภาคส่วนข้ามประเด็นและข้ามพรมแดนในการสร้างเสริมสุขภาพในระดับภูมิภาคและระดับโลก”
ผลงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. เกิดจากการขับเคลื่อนของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพทุกภาคส่วน โดยมีภาคีเครือข่ายเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะร่วมกับ สสส. จากผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนหลักระยะ 3 ปี (ปี 2558-2560) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดผลสำเร็จในการดำเนินงานตามเป้าหมายในแผนหลักคือภาคีเครือข่ายมีศักยภาพและมีความเข้มแข็งซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะจากคณะผู้ประเมินระดับนานาชาติจากองค์กรอนามัยโลก ธนาคารโลก และ สสส.ออสเตรเลียว่าการพัฒนางานของสสส.ในทศวรรษต่อไปนอกจากให้ทุนสนับสนุน (Grant) เป็นเครื่องมือสำคัญแล้ว สสส. ต้องหันมาให้ความสนใจการเสริมสร้างศักยภาพ ให้การเสริมสร้างศักยภาพเป็นส่วนหนึ่งในทุกแผนและโครงการของ สสส. นอกจากนั้น สสส. ยังสามารถช่วยพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ที่สนใจจะเข้าร่วมเป็นภาคีเครือข่ายรายใหม่รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อขยาย หยั่งรากฐาน และสร้างความยั่งยืนให้แก่การสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งพิจารณาจัดตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อทำหน้าที่ด้านการเสริมสร้างศักยภาพ เพื่อสนองตอบความต้องการของภาคีและเจ้าหน้าที่ของ สสส. และลงทุนเพิ่มขึ้นในการเสริมสร้างศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาหน่วยการสอนสำหรับโครงการฝึกอบรมที่ดำเนินการต่อเนื่องทั้งปีให้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางใหม่ในเชิงยุทธศาสตร์และเชิงระบบสำหรับการเสริมสร้างศักยภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำแผนหลัก 3 ปี (2561 - 2563) ของสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ภายใต้แผนงานพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกในการสนับสนุนให้มีส่วนร่วม จุดประกาย กระตุ้น สนับสนุนพัฒนา เชื่อมประสานความสัมพันธ์ระหว่างภาคีเครือข่ายกับสำนักต่าง ๆ ของ สสส. ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่าย ตลอดจนเพื่อช่วยยกระดับขีดความสามารถภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง โดยแบ่งการทำงานเป็น 4 กลุ่มงาน ได้แก่ 1. “งานพัฒนาศักยภาพ” สนับสนุน พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบโดยการให้ความรู้ เสริมทักษะ และสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทั้งในระดับบุคคลและองค์กร สร้างความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพคนทำงานระยะยาว กระตุ้น จุดประกาย สร้างคนรุ่นใหม่รองรับคนทำงานเพื่อสังคม2. “งานภาคีสัมพันธ์” สานงานและเสริมพลังภาคีเครือข่ายโดยการสานงานเสริมพลังภาคีเครือข่าย พัฒนากลไกที่เอื้อให้ภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เกิดการโชว์ผลงาน แชร์ประสบการณ์ และแบ่งปันความรู้ ตลอดจนการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายให้เกิดการหนุนเสริมซึ่งกันและกันในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 4 ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้อย่างต่อเนื่อง3.“งานวิเทศสัมพันธ์” สร้างการรับรู้และการยอมรับ ยกระดับงาน สสส.และภาคีเครือข่ายในระดับสากลโดยการพัฒนาความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายยุทธศาสตร์ในระดับนานาชาติ การเคลื่อนไหวผลักดันนโยบายของรัฐ การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพสู่ระดับสากล และการพัฒนากลไกและระบบเพื่อสนับสนุนงานวิเทศสัมพันธ์ของ สสส. ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมถึงการรับรู้และการยอมรับในคุณค่าของ สสส. และภาคีเครือข่ายในเวทีโลก และ 4. “งานสนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาพ” สนับสนุนการบริหารจัดการข้อมูล และเทคโนโลยีสร้างเสริมสุขภาวะโดยการสนับสนุนให้เกิดกลไกเชื่อมโยงระบบข้อมูลภายใน สสส. และภาคีเครือข่าย และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ข้อมูล สารสนเทศ และองค์ความรู้ ที่สอดรับกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
แผนงานพัฒนาศักยภาพ สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.)จึงมุ่งเน้นการพัฒนากลไกกลางที่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคีสสส. จัดตั้งเป็น “สถาบันการเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ” (ThaiHealth Academy)เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้สมรรถนะและความสามารถของภาคีเครือข่ายหรือนักสร้างเสริมสุขภาพ ยกระดับความเป็นมืออาชีพสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนและเชื่อมต่อความรู้ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นองค์กรและนโยบายทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่ายทำให้สามารถขับเคลื่อนงานทางสังคมและสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืนโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
  1. พัฒนาหลักสูตรตามสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Cor Competencies) จากองค์ความรู้ บทเรียน วิธีการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และภาคีเครือข่าย
  2. พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายตามสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ
  3. พัฒนาแนวทางสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หน่วยงาน เครือข่ายด้านการพัฒนาศักยภาพ เครือข่ายนักวิชาการ เพื่อสร้างกลไกการพัฒนาศักยภาพให้เกิดความยั่งยืน
  4. ขยายงานพัฒนาศักยภาพจากส่วนกลางไปสู่ภาค เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และสร้างโอกาสการเข้าถึง
  5. นำองค์ความรู้ที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศพัฒนาสื่อการเรียนรู้สร้างช่องทางและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อให้ภาคีเครือข่ายสามารถเข้าถึงและยกระดับงานพัฒนาศักยภาพ
การดำเนินงานที่ผ่านมาสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.)ได้มีการวิเคราะห์ความต้องการของภาคีเครือข่ายในการพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่าย สำรวจทุนภาคีเครือข่ายในการหนุนเสริมศักยภาพในบริบทงานสุขภาวะและมีการถอดบทเรียนองค์ความรู้ประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมของภาคีเครือข่ายภายใต้รูปแบบการขับเคลื่อนงานไตรพลัง“สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”หรือรูปแบบการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Working Model) มาออกแบบและจัดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรอบรมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถ่ายทอดเทคนิคการทำงานให้เกิดเครือข่ายการเชื่อมต่อความรู้และขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์ มีการกำหนดเป้าหมายและวางแผนการพัฒนายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพภาคีอย่างเป็นระบบและมีการออกแบบหลักสูตรพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายโดยวิเคราะห์สมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ (Core competency for Health promotion skills set) และจัดกลุ่มสมรรถนะเพื่อใช้เป็นแกนในการออกแบบพัฒนาหลักสูตร 7 สมรรถนะ โดยจำแนกเป็นสมรรถนะหลัก (กลุ่มบังคับ) จำนวน 5 สมรรถนะ คือ
  1. หลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ (Health promotion theory and Methodology)
  2. การบริหารโครงการสุขภาวะ (Project management in Health promotion)
  3. การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะ (Social communication in Health promotion)
  4. การสร้างและบริหารเครือข่าย (Network and Partnership Management)
  5. ผู้นำและการบริหารในงานด้านสุขภาวะ (Leadership and Management skill in Health promotion)
  6. และ ควรมีสมรรถนะเสริม (กลุ่มเลือก) จำนวน 2 สมรรถนะ คือ
  7. การจัดการความรู้ (Knowledge Management)
  8. การจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management)
จากนั้น สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส.) ได้สนับสนุนทุนให้แผนงานศูนย์พัฒนาศักยภาพภาคีด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรและอบรมพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. โดยนำหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมาทดลองใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในระดับผู้จัดการแผนงาน/โครงการ ระดับนักปฏิบัติการ ระดับผู้ประสานงานเจ้าหน้าที่สนับสนุนโครงการ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นอกจากภาคีเครือข่าย สสส. จะได้รับการพัฒนาศักยภาพตามสมรรถนะหลักที่จำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพแล้ว เป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งคือ มุ่งให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจุบันแผนงานศูนย์พัฒนาศักยภาพภาคีด้านการสร้างเสริมสุขภาพ อยู่ระหว่างการพัฒนาหลักสูตรให้ครบทั้ง 7 สมรรถนะ และมีการทดลองนำใช้หลักสูตรที่พัฒนาแล้วกับกลุ่มเป้าหมายภาคีเครือข่ายเพื่อการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้น
นอกจากนี้ ในปี 2559 สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ได้มีการขยายงานพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับภูมิภาค นำร่องในพื้นที่ภาคใต้เป็นแห่งแรก โดยร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ภายใต้“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้”เนื่องจากการวิเคราะห์ทุนศักยภาพของพื้นที่ภาคใต้ พบว่า มีศักยภาพและความพร้อมทั้งในด้านทุนทางสังคม ทุนทรัพยากร และทุนเครือข่ายที่สามารถสร้างเครือข่ายนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สมาคม องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคประชาสังคม ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง รวมถึงมีกลไกการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานสถาบันวิชาการในระดับพื้นที่และการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายภายใต้โครงการศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศวสต.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ เพื่อสนับสนุนให้มีการใช้กระบวนการทางวิชาการไปยกระดับความรู้จากการปฏิบัติการดีๆ ในพื้นที่ สามารถยกระดับให้เกิดการขยายผลในเชิงระบบสุขภาพ และเชิงนโยบายสาธารณะทางสุขภาพได้ อย่างไรก็ดีการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของโครงการ ศวสต.ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรเฉพาะสำหรับภาคีเครือข่ายและกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานเชิงประเด็นและมีส่วนน้อยที่เป็นหลักสูตรเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการขับเคลื่อนงานโครงการเชิงระบบซึ่งถือว่ายังเป็นช่องว่างสำหรับการพัฒนาหลักสูตรและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายสสส. ด้วยเหตุนี้สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จึงได้สนับสนุนให้ สจรส.ม.อ.ซึ่งเป็นสถาบันจัดการงานวิจัยมีภารกิจหน้าที่ในการกำหนดทิศทางสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยระบบสุขภาพในระดับพื้นที่ภาคใต้ทำการออกแบบพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสสส. โดยยึดหลักCore competency for skills set ที่ทางสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์จัดทำขึ้น
“โครงการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสสส.ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ ระยะที่ 2”ซึ่งการดำเนินงานระยะที่ 2 นี้ สจรส.ม.อ.ยังนำยุทธศาสตร์แผนการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของสภส. และบทเรียนจากการจัดหลักสูตรในระยะที่ 1 มาเป็นตัวกำหนดเป้าหมายให้เป็น“Flagship Program”และวางแผน Roadmap งานพัฒนาศักยภาพในระดับพื้นที่ภาคีใต้และมีการออกแบบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพที่ตอบสนองในส่วนสำคัญซึ่งมีกระบวนการนำหลักสูตรCore competency for skills set มาทบทวนและปรับตามบริบทของพื้นที่และจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้/การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของหลักสูตรในระหว่างภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตลอดจนจัดการความรู้ที่เกิดขึ้นในปฏิบัติการจริงของพื้นที่อย่างเป็นระบบโดยใช้ "การบริหารจัดการเชิงพื้นที่หรือarea – based approach” ในการบริหารจัดการที่ลงไปทำกระบวนการในพื้นที่เป้าหมายโดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาชนภาครัฐภาควิชาการและองค์กรพัฒนาเอกชนที่สำคัญเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนารูปแบบและกลไกการทำงานที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาโดยให้ความสำคัญเรื่อง
  1. การเตรียมความพร้อมและออกแบบแผนการพัฒนาศักยภาพ
  2. การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลทำแผนและข้อเสนอ
  3. การพัฒนาหลักสูตรเครื่องมือและวิทยากรโดยถอดวิธีการทำงานของภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ
  4. การมีกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่
  5. การจัดการความรู้และขยายผลองค์ความรู้ให้สามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนงาน
  6. การทดลองระบบการเรียนรู้แบบ online เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ภาคีเครือข่ายที่ไม่สามารถเดินทางมาได้ในบางวัน หรือเปิดโอกาสให้ภาคีที่สนใจอยากเรียนเฉพาะหลักสูตรได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้แบบ online และสื่อการเรียนรู้ที่อยู่บนระบบ online ผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพสามารถเข้ามาทบทวนเนื้อหาหรือเรียนย้อนหลังได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายและรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกรอบการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายของ สสส.โดยพัฒนาต่อยอดจากโครงการระยะที่ 1
  2. เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและยกระดับเครือข่ายให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพในระดับพื้นที่ภาคใต้
  3. สร้างระบบกลไกพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้ เพื่อการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ

คณะทำงาน

บทบาทหน้าที่ลำดับชื่อ-นามสกุลเบอร์โทรศัพท์E-Mail
ผู้รับผิดชอบโครงการ 0 ดร.เพ็ญ สุขมาก 089-5951811 Sphen013@yahoo.com
ที่ปรึกษา 1 ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 089-1971917 pongthep.s@psu.ac.th
ผู้ร่วมโครงการ 2 ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร 085-8928455 kullatat.h@gmail.com
ผู้ร่วมโครงการ 3 ดร.ซอฟียะห์ นิมะ 081-4796937
เจ้าหน้าที่ประสานงาน 4 น.ส.เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส 086-9551217 yaosuk24@hotmail.com
ดูแลระบบไอที 5 นายภวินท์ แซ่คู 086-9663324
ดูแลระบบไอที 6 นายภาณุมาศ นนทพันธ์ 086-7489360 webmaster@softganz.com
ดูแลระบบไอที 7 นายสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน 081-8182543 sutthiphongu@gmail.com
รออัพเดท ข้อมูลรายละเอียด

พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส.พื้นที่ภาคใต้

รออัพเดท ข้อมูลรายละเอียด